แก้วขี้ควาย
Merrillia caloxylon Swing., RUTACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 3-8 ม. เปลือกต้นสีเทา หนา แตกเป็นร่องลึกหรือเป็นแผ่นหนา กิ่งอ่อน ใบอ่อน และช่อดอกมีขนสีน้ำตาล แต่จะร่วงไปในเวลาต่อมา ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงสลับ มีใบย่อย 7-13 ใบ เรียงสลับลดหลั่นจากเล็กไปหาใหญ่ รูปไข่ถึงรูปขอบขนาน กว้าง 1.5-4 ซม. ยาว 2.5-10 ซม. ปลายเรียวแหลม โคนเบี้ยวมนถึงสอบแคบ มีต่อมน้ำมันเป็นจุดประทั่วทั้งแผ่นใบ ก้านใบประกอบแบนเป็นครีบ ยาว 4-12 ซม. ใบย่อยที่ปลายก้านใบรูปขอบขนานแกมรี รูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ ถึงรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก กว้าง 3-4 ซม. ยาว 6-10 ซม. ปลายเรียวแหลม โคนสอบแคบ ขอบเป็นคลื่นหรือหยักตื้นๆ เส้นแขนงใบข้างละ5-8 เส้น ดอกสีเขียวอ่อน ออกเป็นกระจุกหรือช่อสั้นๆ ตามง่ามใบและกิ่ง ก้านดอกยาวประมาณ 1 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ขอบกลีบซ้อนเหลื่อมกัน กว้างประมาณ 2 มม. ยาวประมาณ 3 มม. กลีบดอกรูปแถบ กว้างประมาณ 4 มม. ยาวประมาณ 2.5 ซม. เกสรเพศผู้ 10 อัน รังไข่มีขน ก้านเกสรเพศเมียยาวเห็นได้ชัด ยอดเกสรเพศเมียแผ่กว้าง ผลรูปมนกลมคล้ายผลส้ม มีขนนุ่ม กว้าง 6-8 ซม. ยาว 8-10 ซม. เนื้อในอ่อนนุ่ม เมล็ดรูปไข่ กว้าง 0.8-1 ซม. ยาว 1.3-1.5 ซม. มีเส้นใยหนาเหนียวหุ้ม


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : มาเลเซีย


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ภาคใต้


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นใกล้ลำธารในป่าดิบชื้น บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 50-150 ม.


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.