แก้วขี้ควาย


ชื่อพื้นเมือง : แก้วขี้ควาย (ปัตตานี), กะติงกา กะติงงอ(มลายู-ปัตตานี)


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Merrillia caloxylon Swing.


ชื่อวงศ์ : RUTACEAE


ชื่อสามัญ : -


ลักษณะ : ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 3-8 ม. ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงสลับ มีใบย่อย 7-13 ใบ เรียงสลับลดหลั่นจากเล็กไปหาใหญ่ รูปไข่ถึงรูปขอบขนาน ปลายเรียวแหลม โคนเบี้ยวมนถึงสอบแคบ มีต่อมน้ำมันเป็นจุดประทั่วทั้งแผ่นใบ ก้านใบประกอบแบนเป็นครีบ ใบย่อยที่ปลายก้านใบรูปขอบขนานแกมรี รูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ ถึงรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ปลายเรียวแหลม โคนสอบแคบ ขอบเป็นคลื่นหรือหยักตื้นๆ ดอกสีเขียวอ่อน ออกเป็นกระจุกหรือช่อสั้นๆ ตามง่ามใบ และกิ่ง ผลรูปมนกลมคล้ายผลส้ม มีขนนุ่ม กว้าง 6-8 ซม. ยาว 8-10 ซม. เนื้อในอ่อนนุ่ม เมล็ดรูปไข่ มีเส้นใยหนาเหนียวหุ้ม


ประโยชน์ : -


โทษ : -


ข้อมูลเพิ่มเติม