กูดผี
Pteris mertensioides Willd., PTERIDACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เฟิร์น เหง้าสั้น ตั้งตรง มีรากที่มีขนสีน้ำตาลและมีเกล็ดสีน้ำตาลเข้มหนาแน่น เกล็ดกว้างประมาณ 1 มม. ยาว 1-1.5 ซม. ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น รูปขอบขนาน กว้างประมาณ 65 ซม. ยาวประมาณ 1 ม. แกนกลางใบประกอบและแกนกลุ่มใบย่อยสีน้ำตาลแดงหรือสีออกม่วงแดง มีร่องตามยาวทางด้านบน ก้านใบสีน้ำตาลอมม่วง ยาวประมาณ 70 ซม. กลุ่มใบย่อยเกือบจะอยู่ตรงข้ามกัน มีประมาณ 15 คู่ รูปใบหอกแกมรูปแถบ กว้าง 4-8 ซม. ยาวประมาณ 45 ซม. กลุ่มใบย่อยตอนล่างใกล้โคนมีใบย่อยขนาดใหญ่ ใบย่อยรูปใบหอก ปลายแหลมหรือเกือบแหลม แผ่นใบบาง สีเขียว เส้นใบแยกสาขาเป็นคู่ 2 ครั้ง เห็นชัดเจนทั้ง 2 ด้าน กลุ่มอับสปอร์เรียงตัวต่อเนื่องตามขอบใบ ยกเว้นบริเวณปลายใบ เยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์แคบบางและสีซีด


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : ศรีลังกา อินเดียตอนใต้ ภูมิภาคมาเลเซีย จนถึงภูมิภาคโปลินีเซีย


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ภาคใต้


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นริมลำธารหรือตามทางเดินในป่าดิบบริเวณที่ได้รับแสง บนพื้นที่ระดับต่ำถึงสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,000 ม.


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.