กูดหมาก
Pyrrosia mollis (Kunze) Ching, POLYPODIACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เฟิร์นอิงอาศัย เหง้าทอดสั้น เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3 มม. มีเกล็ดหนาแน่นทั่วไป เกล็ดเป็นแผ่นบาง รูปขอบขนานแกมรูปใบหอก กว้างประมาณ 1 มม. ยาว 3-5 มม. ปลายเรียวเป็นเส้น ตอนกลางสีน้ำตาลเข้มถึงน้ำตาลดำ ขอบสีน้ำตาลอ่อน มีขนที่ขอบ ใบเดี่ยว เรียงชิดกัน รูปใบหอกกลับ กว้าง 0.7-1.7 ซม. ยาวประมาณ 25 ซม. ปลายแหลมถึงเรียวแหลม โคนสอบเรียว แผ่นใบหนา ด้านบนสีเขียว มีขนรูปดาวประปรายหรือไม่มีขน มีรูหยาดน้ำกระจัดกระจายทั่วไปเห็นได้ชัดเจน ด้านล่างมีขนรูปดาวหนาแน่น ขนรูปดาวมีทั้งชนิดที่ขนอ่อนนุ่มและขนเส้นยาวแข็งสีน้ำตาล เส้นกลางใบนูนเป็นสันเฉพาะทางด้านล่างของแผ่นใบ เส้นร่างแหมองเห็นได้ยาก ก้านใบเห็นไม่ชัดเนื่องจากโคนใบแผ่เป็นปีกถึงโคนก้านใบ กลุ่มอับสปอร์กระจายทั่วไปบนแผ่นใบด้านล่างจากส่วนกลางแผ่นใบถึงปลายใบและมีขนรูปดาว


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : ศรีลังกา แถบเทือกเขาหิมาลัย จีนทางตะวันตกเฉียงใต้ พม่าตอนเหนือ และภูมิภาคอินโดจีน


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงใต้


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นปนกับมอสส์บนต้นไม้ใหญ่ในป่าดิบเขา บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,000-2,000 ม.


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.