กูดผา
Polypodium manmeiense Christ, POLYPODIACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เฟิร์นอิงอาศัย เหง้าทอดขนาน แตกสาขา เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 มม. มีเกล็ดสีน้ำตาลเทาหนาแน่นทั่วไป เกล็ดรูปแถบหรือรูปกึ่งสามเหลี่ยม กว้างประมาณ 1 มม. ยาวประมาณ 3 มม. ปลายเรียวแหลม ขอบเรียบ ใบเดี่ยว แผ่นใบเว้าลึกแบบขนนก บางตอนเว้าลึกเกือบถึงเส้นกลางใบ ทำให้ใบมีลักษณะเป็นแฉกจำนวน 30-50 คู่ แฉกรูปขอบขนาน กว้าง 3.5-6.5 ซม. ยาว 10-25 ซม. ปลายเรียวแหลม แฉกที่ปลายใบเล็กกว่าแฉกอื่นๆ แผ่นใบบาง เส้นกลางแฉกสีน้ำตาลอ่อนถึงน้ำตาลเข้ม เส้นแขนงแยกเป็นคู่มองเห็นได้ชัดทั้ง 2 ด้าน ปลายสุดของเส้นแขนงมีรูหยาดน้ำ (hydathode) รูปรีที่บริเวณใกล้ขอบใบ ก้านใบสีน้ำตาลอ่อน ยาว 3-12 ซม. โคนมีเกล็ด กลุ่มอับสปอร์รูปกลม เล็กมาก อยู่ที่ปลายเส้นแขนงที่ระดับผิวใบหรือส่วนบุ๋มของแผ่นใบ


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : พม่าตอนบน จีนทางตะวันตกเฉียงใต้ และลาว


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นปนกับมอสส์บนต้นไม้ใหญ่ในป่าดิบเขา บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,300-2,300 ม.


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.