เกล็ดนาคราช
Drymoglossum piloselloides (L.) Presl, POLYPODIACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เฟิร์นอิงอาศัย เหง้าเล็กทอดยาว เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 มม. ยาวได้มากกว่า 1 ม. และแตกสาขาได้ดี เหง้ามีเกล็ดขนาดเล็กทั่วไป เกล็ดรูปไข่หรือรูปขอบขนาน ขอบหยักซี่ฟันไม่เป็นระเบียบ ใบเดี่ยว มีรูปร่างต่างกัน 2 แบบ ใบไม่สร้างอับสปอร์รูปไข่จนถึงเกือบกลม กว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 2-4 ซม. ปลายมน โคนมนหรือสอบ ขอบเรียบ แผ่นใบหนา มีขนรูปดาวทั่วไปทั้ง 2 ด้านแต่ไม่หนาแน่น เส้นใบเป็นร่างแหมองเห็นไม่ชัดเจน ไม่มีก้านใบ ใบสร้างอับสปอร์รูปขอบขนานหรือรูปใบหอก กว้าง 5-8 มม. ยาว 3-15 ซม. ปลายมน โคนสอบเรียวเล็กลง เส้นกลางใบเห็นชัดเจนทั้ง 2 ด้าน แผ่นใบ ขน และเส้นใบมีลักษณะเช่นเดียวกับใบไม่สร้างอับสปอร์ ก้านใบสั้น กลุ่มอับสปอร์กว้างประมาณ 3 มม. เรียงเป็นแถวขนานกับขอบใบ ขณะที่ยังอ่อนมีขนรูปดาว


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : อินเดียตอนเหนือ จีนตอนใต้ พม่า ภูมิภาคอินโดจีน มาเลเซีย และอินโดนีเซีย


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ทั่วทุกภาค


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นบนต้นไม้ในป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้งทั่วไปบริเวณค่อนข้างร่ม บนพื้นที่ระดับต่ำจนถึงสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,000 ม.


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.