กะทกรก




ชื่อพื้นเมือง : กระโปรงทอง (ภาคใต้), เคือขนตาช้าง (ศรีสะเกษ), ตำลึงฝรั่ง (ชลบุรี), เถาสิงโต เถาเงาะ (ชัยนาท), ผักแคบฝรั่ง (ภาคเหนือ), หญ้ารกช้าง (พังงา), กะทกรก (ภาคกลาง), ผักขี้หิด (เลย), เยี่ยววัว (อุดรธานี), ละพุบาบี (มลายู-นราธิวาส, ปัตตานี), หญ้าถลกบาต (พิษณุโลก, อุตรดิตถ์)


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Passiflora foetida L.


ชื่อวงศ์ : PASSIFLORACEAE


ชื่อสามัญ : Stinking Passion Flower


ลักษณะ : ไม้เถาเนื้ออ่อน มีมือเกาะ ใบป้อม เรียงสลับ แผ่นใบเว้าเป็น 3 หยัก มีขน ใบประดับเป็นฝอย มีต่อมอยู่ที่ปลาย ดอกเดี่ยว ออกตามง่ามใบ กลีบดอกด้านนอกสีเขียวอ่อน ด้านในสีขาว มีกะบังรอบเป็นเส้นฝอย สีขาวโคนสีม่วงเรียงกันเป็นรัศมี ผลค่อนข้างกลม มีใบประดับหุ้ม เมื่ออ่อนสีเขียว สุกแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมส้ม เมล็ดมีเนื้อหุ้มลักษณะคล้ายเมล็ดแมงลักแช่น้ำ รสหวานปะแล่มๆ ทุกส่วนของพืชนี้เมื่อขยี้หรือทำให้ช้ำจะมีกลิ่นเหม็นเขียว


ประโยชน์ : นำมาปลูกเป็นพืชคลุมดินและทำปุ๋ยหมัก เนื่องจากมีกลิ่นเหม็นเขียวจึงป้องกันไม่ให้สัตว์มาทำลายได้ ยอดอ่อนต้มกินได้


โทษ : ผลอ่อนเป็นพิษเพราะมี cyanogenetic glucoside เปลือกผล เมล็ด และใบมีสารที่ไม่คงตัว เมื่อสารนี้สลายตัวจะให้ acetone และ hydrocyanic acid ซึ่งสารตัวหลังนี้เป็นสารพิษ ทำให้เม็ดโลหิตแดงขาดออกซิเจน ผลทำให้เกิดการอาเจียน


ข้อมูลเพิ่มเติม