กูดปรง
Taenitis blechnoides (Willd.) Sw., PARKERIACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เฟิร์น เหง้าทอดขนาน เส้นผ่านศูนย์กลางเหง้าประมาณ 5 มม. มีขนแข็งที่ปลาย ขนแข็งสีน้ำตาลเข้มถึงเกือบดำ เป็นมัน ยาวได้ถึง 3 มม. ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ หรือใบเดี่ยว กว้างประมาณ 30 ซม. ยาวประมาณ 40 ซม. แกนกลางใบประกอบมีร่องตามยาวซึ่งจะต่อเลยเข้าไปถึงเส้นกลางใบย่อย ก้านใบสีน้ำตาลอ่อนตอนปลายสีเขียว ตอนโคนสีน้ำตาลแดง เรียบ ยาวได้ถึง 60 ซม. ใบย่อย 1-8 คู่ เรียงสลับ รูปแถบ ใบย่อยสร้างอับสปอร์กว้างประมาณ 3 ซม. ยาวประมาณ 25 ซม. ใบย่อยไม่สร้างอับสปอร์กว้างได้ถึง 5 ซม. ปลายเรียวเป็นติ่งแหลม โคนสอบแคบ ขอบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย บางครั้งพบขอบใบม้วนเข้าหาเส้นกลางใบ เส้นกลางใบย่อยนูนเป็นสันชัดเจนทางด้านล่าง แต่ทางด้านบนจะเห็นอยู่ต่ำกว่าระดับผิวใบ เส้นใบเป็นร่างแหเห็นได้ชัดเจน แผ่นใบบาง เรียบ มีก้านใบหรือไม่มี กลุ่มอับสปอร์กว้าง 1-2 มม. อยู่ตามความยาวของใบย่อยระหว่างขอบใบและเส้นกลางใบทั้ง 2 ข้าง


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : ศรีลังกา อินเดีย ภูมิภาคมาเลเซีย และฟิจิ


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นในป่าดิบแล้งหรือป่าดิบเขา บนพื้นที่ระดับต่ำจนถึงที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,200 ม.


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.