เกี๋ยงหลวง
Pandanus helicopus Kurz, PANDANACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูงได้ถึง 8 ม. ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขากว้างขวาง สีน้ำตาลแดงแล้วเปลี่ยนเป็นสีเทาอมม่วง ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับเป็นสามเกลียว รูปขอบขนานแคบ กว้าง 6-8 ซม. ยาวได้ถึง 2 ม. ปลายเรียวยาว ขอบมีหนามสีดำ ดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น ช่อดอกเพศผู้มีกลิ่นหอมแรง กว้างประมาณ 2 ซม. ยาวประมาณ 20 ซม. ห้อยลง เกสรเพศผู้อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม มีกาบรูปใบหอก กว้าง 2.5-3 ซม. ยาว 25-30 ซม. ปลายแหลมยาว สีขาว ช่อดอกเพศเมียมีหลายช่ออยู่บนก้านช่อดอกเดียวกัน แต่ละช่อรูปทรงกระบอก ยาวประมาณ 5 ซม. ก้านช่อดอกยาว 25-60 ซม. รังไข่ไม่ติดกัน ผลรูปทรงกระบอก หัวท้ายตัด กว้าง 7-8 ซม. ยาว 10-11 ซม. สีน้ำตาลทอง เกิดจากผลย่อยๆ เบียดกัน แต่ละผลปลายมีหนามเรียวยาวผลละ 1 อัน


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : พม่าตอนใต้ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย (เกาะสุมาตรา)


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้


สภาพนิเวศน์ : -


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.