กระทืบยอบ
Biophytum adiantoides Wight ex Edgew. & Hook. f., OXALIDACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูงไม่เกิน 30 ซม. ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ แกนกลางใบประกอบยาว 7-17 ซม. มีขนสีน้ำตาล มีใบย่อย 18-27 คู่ ใบย่อยคู่สุดท้ายมีหลายลักษณะ ตั้งแต่รูปขอบขนานจนถึงรูปใบหอกกลับ กว้าง 3-8 มม. ยาว 0.9-2.2 ซม. ใบย่อยคู่อื่นรูปแคบยาวขอบขนาน ช่อดอกมี 2-9 ดอก ก้านช่อดอกยาว 0.5-2 ซม. ก้านดอกยาว 0.5-1.7 ซม. กลีบดอกสีขาว โคนกลีบสีเหลือง ผลรี กว้าง 2-3 มม. ยาว 3-4 มม. ผิวเรียบ มีเมล็ด 10-15 เมล็ด


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : ภูมิภาคอินโดจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ลำปาง, นครสวรรค์, นครศรีธรรมราช, สตูล, ยะลา


สภาพนิเวศน์ : เขาหินปูนและป่าโปร่ง บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 330 เมตร


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.
2) Smitinand, T. and Larsen, K., eds. 1981. Flora of Thailand (Vol.2). Bangkok. TISTR Press.