กูดหิน
Nephrolepis falcata (Cav.) C. Chr., OLEANDRACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เฟิร์น เหง้าสั้น ตั้งตรงหรือเกือบตรง มีรากแข็งจำนวนมาก และมีไหลแตกสาขาจากซอกใบ เหง้ามีเกล็ดบางๆ ขอบสีน้ำตาลอ่อน ตอนกลางมีสีเข้มเกือบดำ เกล็ดกว้างประมาณ 1 มม. ยาวประมาณ 3 มม. ปลายแหลม โคนเรียว ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ออกรวมกันเป็นกระจุก รูปขอบขนาน กว้างประมาณ 15 ซม. ยาวประมาณ 80 ซม. ก้านใบสีน้ำตาลอ่อน ยาวประมาณ 20 ซม. โคนมีเกล็ด ใบย่อยมีได้ถึง 50 คู่ รูปเคียว กว้างประมาณ 1.3 ซม. ยาวประมาณ 8 ซม. คู่กลางๆ ใหญ่ที่สุด โคนของใบย่อยทางด้านใกล้ยอดมีติ่งหู โคนใบด้านตรงกันข้ามมน ขอบหยักมน แผ่นใบบาง เรียบ เส้นใบแยกสาขาเป็นคู่ เห็นได้ชัดเจนทางด้านล่าง กลุ่มอับสปอร์รูปกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 8 มม.


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : ภูมิภาคอินโดจีน มาเลเซีย และอินโดนีเซีย


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ทั่วทุกภาค


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นบนก้อนหินในป่าดิบแล้งและป่าดิบเขา บนพื้นที่ระดับต่ำจนถึงที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,200 ม.


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.