กระเทียมต้น


ชื่อพื้นเมือง : กระเทียมต้น (ภาคใต้), กุเลง กุหลิม (มลายู-ภาคใต้), หมากสุก (นราธิวาส)


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Scorodocarpus borneensis (Baill.) Becc.


ชื่อวงศ์ : OLACACEAE


ชื่อสามัญ : -


ลักษณะ : ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 10-40 ม. ทุกส่วนของต้นมีกลิ่นกระเทียม โดยเฉพาะหลังฝนตกหรือต้นที่มีแผลหรือถูกตัดฟัน ใบเดี่ยว เรียงเวียนรอบกิ่ง รูปรี หรือรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ปลายเรียวแหลม โคนมนหรือสอบ ขอบเรียบ แผ่นใบหนา เมื่อใบแห้งเป็นสีเขียวมะกอกและมีตุ่มเล็กๆ โผล่ขึ้นมาบนผิวใบเห็นชัดเจน ช่อดอกสั้น ออกตามง่ามใบ ดอกมีทั้ง 2 เพศ ออกเดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่มรวมกัน กลุ่มละ 2-3 ดอก กลีบเลี้ยงเล็ก รูปถ้วย ขอบหยักตื้นๆ 4-5 หยัก กลีบดอก 4-5 กลีบ สีเหลือง ชมพู หรือขาวนวล รูปขอบขนานแคบ ภายในกลีบมีขนฟู เมื่อยังตูมกลีบแตะกันตามขอบกลีบและจะกระดกโค้งงอเมื่อบานเต็มที่ เกสรเพศผู้ 8-10 อัน ขนาดเล็ก ยอดเกสรเพศเมียเล็กมาก มี 3-4 แฉก ผลมีเนื้อ ค่อนข้างกลม สีเขียว เส้นผ่านศูนย์กลาง 4-5 ซม. เปลือกนอกบาง มีเนื้อนุ่ม ผลชั้นในแข็ง มี 1 เมล็ด เมล็ดกลม


ประโยชน์ : เนื้อไม้แข็งปานกลาง ละเอียดและทนทานพอสมควร ทนต่อมอดและแมลงเจาะ เหมาะสำหรับใช้ในการก่อสร้าง เมล็ดกินได้ มีกลิ่นเหมือนกระเทียม


โทษ : -


ข้อมูลเพิ่มเติม