แฉลบขาว
Acacia harmandiana (Pierre) Gagnep., LEGUMINOSAE-MIMOSOIDEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 10-20 ม. ลำต้นแตกกิ่งต่ำ มีหนามแหลมแข็งกระจัดกระจาย เรือนยอดโปร่งเป็นพุ่มกลม แผ่กว้าง บริเวณโคนต้นที่มีขนาดใหญ่มีหนามแหลมแข็งแตกแขนงระเกะระกะ เปลือกสีขาวแกมเทา ค่อนข้างเรียบหรือมีรอยบุ๋มเป็นแอ่งตื้นๆ เล็กน้อย ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับ แกนกลางใบประกอบยาว 10-16 ซม. ก้านใบประกอบยาว 3-4 ซม. ใบประกอบแยกแขนง 3-5 คู่ เรียงตรงข้าม ยาว 4.5-12 ซม. แต่ละแขนงมีใบย่อย 4-11 คู่ รูปขอบขนาน กว้าง 0.5-1.8 ซม. ยาว 1.5-4.5 ซม. ปลายมนมีติ่งแหลมสั้นๆ โคนเบี้ยว เส้นใบออกจากโคนใบ 3-5 เส้น ไม่มีก้านใบ ช่อดอกแบบช่อกระจุกแน่น แตกแขนงแผ่กว้าง ออกตามปลายกิ่ง ยาวได้ถึง 40 ซม. มีขนประปราย ตามแขนงมีช่อดอกจำนวนมาก ดอกเล็กมาก สีขาว ออกชิดกันแน่นบนแกนช่อ เมื่อบานเต็มที่เส้นผ่านศูนย์กลางช่อดอกประมาณ 5 มม. กลีบเลี้ยงและกลีบดอก 4-5 กลีบ เล็กมาก ติดกันเป็นหลอดสั้นๆ เกสรเพศผู้ 15-22 อัน รังไข่เล็กมาก มีขน ฝักแบนยาวแคบ รูปขอบขนาน กว้าง 0.8-1.2 ซม. ยาว 8-13 ซม. ฝักแก่สีน้ำตาล มักโค้งงอหรือบิดเล็กน้อย ผิวเรียบ มีหลายเมล็ด เมล็ดค่อนข้างกลม แบน กว้างประมาณ 3 มม. ยาวประมาณ 4 มม.


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : ลาว


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ทั่วทุกภาค ยกเว้นภาคใต้, ลำปาง, นครสวรรค์, เลย, มหาสารคาม, บุรีรัมย์, นครราชสีมา, พระนครศรีอยุธยา, สุพรรณบุรี, ปราจีนบุรี, กาญจนบุรี


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นตามป่าไผ่ ป่าละเมาะและป่าเบญจพรรณแล้ง บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 400 ม.


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.
2) Smitinand, T. and Larsen, K. 1985. Flora of Thailand (Vol.4: 2). Bangkok: TISTR Press.