กำลังช้างสาร
Acacia craibii Nielsen, LEGUMINOSAE-MIMOSOIDEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มรอเลื้อย ทอดยอดเกาะพันไม้อื่นขึ้นสูงประมาณ 4 ม. กิ่งอ่อนและช่อดอกมีขนประปราย กิ่งแก่เกลี้ยง ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับ ยาว 6-15 ซม. หูใบแปลงรูปเป็นหนามแหลมโค้งค่อนข้างกลมขนาดเล็ก 1 คู่ ใบประกอบแยกแขนง 6-11 คู่ ยาว 2-4 ซม. บริเวณโคนก้านแขนงคู่แรกและคู่สุดท้าย และหรือคู่รองสุดท้ายมีต่อมรูปกลมรีคู่ละ 1 อัน แต่ละแขนงมีใบย่อย 21-29 คู่ เล็กมาก รูปขอบขนานแคบๆ ปลายมน โคนเบี้ยว ช่อดอกกลม ออกตามง่ามใบและปลายกิ่ง ดอกเล็ก กลีบเลี้ยงโคนติดกันเป็นรูปถ้วย ขนาดเล็กมาก ปลายหยักซี่ฟันแหลม 5 หยัก กลีบดอก 5 กลีบ เล็กมาก รูปรีแกมรูปไข่ โคนติดกัน ปลายแยก เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก ฝักรูปขอบขนาน กว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 5.5-9 ซม. แบน โค้งเล็กน้อย โคนสอบ ปลายแหลม เปลือกค่อนข้างบาง มีเส้นนูนขนานห่างจากขอบฝักทั้ง 2 ด้าน 2-3 มม. ด้านละ 1 เส้น มีเส้นร่างแหปรากฎชัดเมื่อฝักแก่และแห้งจะแตกออกเป็น 2 ซีก ก้านฝักยาวประมาณ 1 ซม. มี 12-15 เมล็ด เมล็ดแบน รูปรี กว้างประมาณ 3 มม. ยาว 5-6 มม. โค้งเล็กน้อย มีเยื่อนุ่มสีแดง


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : พรรณไม้ถิ่นเดียว พบเฉพาะในประเทศไทย


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : จังหวัดกาญจนบุรี


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นริมลำธารในป่าดิบแล้ง บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 150 ม.


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.
2) Smitinand, T. and Larsen, K. 1985. Flora of Thailand (Vol.4: 2). Bangkok: TISTR Press.