กูดง้อง
Bolbitis virens (Hook. et Grev.) Schott, LOMARIOPSIDACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เฟิร์น เหง้าทอดขนานยาว หนา มีเกล็ดสีน้ำตาลเป็นแผ่นบางอยู่หนาแน่น กว้างประมาณ 2 มม. ยาวประมาณ 8 มม.ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ใบสร้างอับสปอร์และใบไม่สร้างอับสปอร์มีรูปร่างแตกต่างกันชัดเจน ใบไม่สร้างอับสปอร์ก้านใบยาว 30-40 ซม. มีเกล็ดหนาแน่นทั่วไป เกล็ดทางตอนบนของก้านใบสีน้ำตาลอ่อน แผ่นใบมีรูปร่างไม่แน่นอน เช่น รูปขอบขนานแกมรูปไข่ถึงรูปขอบขนาน กว้างประมาณ 30 ซม. ยาว 35-60 ซม. ใบย่อย 5-7 คู่ รูปขอบขนานถึงรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก กว้างประมาณ 6 ซม. ยาวประมาณ 25 ซม. ปลายเป็นติ่งแหลม โคนสอบแคบหรือมนไม่เท่ากัน ขอบหยักซี่ฟัน มักเป็นคลื่น เส้นกลางใบกลมและมีเกล็ดเล็กๆ ทางด้านล่าง เส้นใบเป็นร่างแห นูนเห็นชัดเจนทางด้านล่าง มีเส้นสั้นอยู่ตามช่องร่างแห ใบค่อนข้างเหนียว เรียบ ใบย่อยที่ปลายมีรูปร่างใกล้เคียงกับใบย่อยอื่นๆ อาจจะใหญ่กว่าเล็กน้อย ปลายใบมีตาที่สามารถเจริญเป็นต้นใหม่ได้ ใบสร้างอับสปอร์ยาวใกล้เคียงกับใบไม่สร้างอับสปอร์ ก้านใบยาวประมาณ 55 ซม. แผ่นใบกว้างประมาณ 20 ซม. ยาวประมาณ 40 ซม. ใบย่อย 4-6 คู่ รูปแถบ กว้าง 2-7 มม. ยาว 8-12 ซม. ปลายเรียวแหลม โดยทั่วไปใบย่อยจะยาวมากกว่ากว้างประมาณ 15 เท่า กลุ่มอับสปอร์อยู่ทั่วไปบนแผ่นใบย่อย


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : จีนตอนใต้ พม่า และบังกลาเทศ


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นตามไหล่เขาบนดินหรือบนก้อนหินบริเวณใกล้ลำธารในป่าดิบ บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 800-1,200 ม.


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.