กันเกรา
ชื่อพื้นเมือง :
ตำเสา ทำเสา (ภาคใต้),
ตาเตรา (เขมร-ภาคตะวันออก),
ตะมะซู ตำมูซู (มลายู-ใต้),
มันปลา (ภาคเหนือ,
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ),
กันเกรา (ภาคกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Fagraea
fragrans Roxb.
ชื่อวงศ์ : LOGANIACEAE
ชื่อสามัญ : -
ลักษณะ : ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่
ลำต้นแตกกิ่งต่ำ
เรือนยอดแน่นเป็นรูปกรวยคว่ำ
ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม
รูปรีหรือรูปรีแกมรูปใบหอก
มีหูใบระหว่างก้านใบ ช่อดอกออกตามง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง
มีดอกจำนวนมาก
กลิ่นหอมเย็น
ดอกแรกบานสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองจนถึงเหลืองอมส้ม
กลีบดอกติดกันคล้ายรูปแจกันมี
5 กลีบ ผลมีเนื้อ
กลม มีติ่งแหลมสั้นๆ
ติดที่ปลาย
ผลแก่สีแดงไม่แตก
มีรสขม
ภายในมีเมล็ดเล็กจำนวนมาก
ประโยชน์ :
ปลูกเป็นไม้ให้ร่มตามถนนและสวนสาธารณะทั่วไปในมาเลเซียและสิงคโปร์
เนื้อไม้ละเอียดสีเหลืองอ่อน
แข็งทนทานมากทั้งในพื้นดินและในน้ำ
ทนปลวก ตกแต่งง่าย
ชักเงาได้ดี
นิยมใช้ทำเสาเรือน
เสาสะพาน กระดานปูพื้น
ผนัง ประตู หน้าต่าง
เครื่องเรือน
เครื่องกลึง
กระดูกงูเรือ โครงเรือ
เสากระโดงเรือ
หมอนรางรถไฟ
ชาวจีนตอนใต้นิยมใช้ทำโลงจำปา
เนื้อไม้และเปลือกใช้เป็นสมุนไพร
โทษ : -