โกงกางเขา
Fagraea ceilanica Thunb., LOGANIACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มกึ่งไม้ต้น อิงอาศัยอยู่บนต้นไม้หรือขึ้นตามพื้นดิน หรือบางครั้งเป็นไม้พุ่มรอเลื้อย สูง 3-15 ม. กิ่งก้านเกลี้ยง ข้อถี่ ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม มีรูปร่างหลายแบบตั้งแต่รูปไข่ รูปไข่กลับ ไปจนถึงรูปขอบขนาน หรือรูปใบหอกแคบ กว้าง 2-9 ซม. ยาว 4-35 ซม. โคนสอบ มน หรือค่อนข้างเป็นรูปหัวใจ ปลายมนแล้วค่อยแหลมเป็นติ่งสั้น ขอบเรียบ ใบค่อนข้างหนาเป็นมัน เมื่อแห้งสีน้ำตาลแกมเขียวมะกอก ด้านล่างสีเข้มกว่าด้านบน เส้นกลางใบเห็นชัดทางด้านล่าง เส้นแขนงใบข้างละ 4-8 เส้น เห็นไม่ชัดทั้ง 2 ด้าน ก้านใบยาว 0.5-3.5 ซม. ช่อดอกออกใกล้ๆ ปลายยอด ก้านดอกยาว 0.2-3.5 ซม. มีใบประดับ 2 ใบ ขนาดเล็กหรือยาวถึง 2 ซม. อยู่ใต้กลีบเลี้ยงบริเวณกึ่งกลางของก้านช่อดอก กลีบเลี้ยงยาว 1-2.5 ซม. โคนติดกันกว่าครึ่งหนึ่งเป็นรูประฆัง ปลายจักลึก กลีบดอกสีขาวนวล ติดกันเป็นรูปกรวย ยาว 2-5 ซม. ปลายแยกเป็นกลีบกลม สั้นกว่าหลอดดอก เกสรเพศผู้ 5 อัน ก้านชูอับเรณูโคนหนา อับเรณูรูปขอบขนานหรือรูปไข่ ยาว 5-8 มม. รังไข่รูปไข่ ก้านเกสรเพศเมียยาวเท่ากับเกสรเพศผู้ ยอดเกสรเพศเมียแผ่เป็นรูปจาน เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 มม. ผลรูปไข่ รูปรี หรือค่อนข้างกลม ยาว 3-5 ซม. มีจะงอยยาว สีเขียวขุ่นๆ กลีบเลี้ยงโอบหุ้มผล


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : อินเดีย ศรีลังกา พม่า ลาว เวียดนาม จีนตอนใต้ หมู่เกาะไต้หวันตอนใต้ มาเลเซีย


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : เชียงใหม่, เชียงราย, ลำพูน, ลำปาง, แพร่, พิษณุโลก, เพชรบูรณ์, เลย, สกลนคร, ชัยภูมิ, นครราชสีมา, บุรีรัมย์, สุรินทร์, กาญจนบุรี, กรุงเทพมหานคร, จันทบุรี, ตราด, ระนอง, สุราษฎร์ธานี, นครศรีธรรมราช, สตูล, ยะลา, นราธิวาส


สภาพนิเวศน์ : ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง และป่าดิบเขา


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.
2) Santisuk, T. and Larsen, K., eds. 1997. Flora of Thailand (Vol.6: 3). Bangkok. Diamond Printing.