กะทังใบใหญ่
ชื่อพื้นเมือง :
กะตา มือแด มือแด็ง
มือแต กายูกะตา
กายูมือแด (มลายู-ภาคใต้),
กะทัง ทัง ทังใบใหญ่ (ภาคใต้),
ทังทอง (สุราษฎร์ธานี),
มะดัง (นราธิวาส), สังต้ง (ยะลา)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Litsea
grandis Hook.f.
ชื่อวงศ์ : LAURACEAE
ชื่อสามัญ : -
ลักษณะ : ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่
สูง 15-25 ม.
เรือนยอดเป็นพุ่มรูปเจดีย์
ใบเดี่ยว
เรียงเวียนสลับ รูปรี
รูปไข่
หรือรูปรีแกมรูปไข่กลับ
ปลายมนหรือมีติ่งสั้นๆ
โคนมน ขอบเรียบ
แผ่นใบหนาแข็ง
ด้านบนสีเขียวเข้ม
ด้านล่างสีจางกว่า ช่อดอกแบบช่อซี่ร่มสั้นๆ
ออกตามกิ่งด้านข้างและตามง่ามใบ
แต่ละช่อมีดอกจำนวนมาก
ดอกแยกเพศ สีเหลืองอ่อน
เมื่อบานกว้าง 7-9 มม.
กลีบรวมโคนติดกันคล้ายรูปถ้วย
ปลายแยกเป็นกลีบๆ
ดอกเพศผู้มีเกสรเพศผู้จำนวนมากเป็นกระจุก
ผลออกเป็นกลุ่มบนช่อสั้นๆ
3-8 ผล
รูปไข่หรือรูปรีปลายมน
ติดอยู่บนฐานรูปถ้วยซึ่งเจริญมาจากกลีบรวม
ผลสีเขียว เมื่อแก่สีดำ
มีเมล็ดแข็ง 1 เมล็ด
ประโยชน์ :
ใบเมื่อขยี้มีกลิ่นฉุนคล้ายการบูร
เนื้อไม้มีกลิ่นฉุนเล็กน้อย
สีน้ำตาลแกมเหลือง
เมื่อทิ้งไว้นานๆ
สีจะเข้มขึ้น
เนื้อค่อนข้างหยาบ
เป็นมัน
ใช้ในการก่อสร้างบ้านเรือน
ทำเครื่องเรือน
และใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องมือเกษตรกรรมต่างๆ
เนื้อไม้มีลักษณะคล้ายไม้ทำมัง
(Litsea petiolata Hook.f.)
ใช้ร่วมกันได้
เมล็ดให้น้ำมันที่ใช้ทำน้ำมันใส่ผมบำรุงรากผม
โทษ : -