กระบก


ชื่อพื้นเมือง : กระบก กะบก จะบก ตระบก (ภาคกลาง), จำเมาะ (เขมร), ซะอัง (ตราด), บก หมากบก (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), มะมื่น มื่น (ภาคเหนือ), มะลื่น หมักลื่น (สุโขทัย, นครราชสีมา), หลักกาย (ส่วย-สุรินทร์)


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Irvingia malayana Oliv. ex A. Benn.


ชื่อวงศ์ : IRVINGIACEAE


ชื่อสามัญ : Barking Deer's Mango


ลักษณะ : ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูง 10-30 ม. ลำต้นเปลา โคนต้นมักเป็นพอน ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ รูปรี หรือรูปรีแกมรูปขอบขนานจนถึงรูปใบหอก ปลายสอบเรียวเป็นติ่งมน โคนมน แหลม หรือเว้าเล็กน้อย ขอบเรียบ มีหูใบที่มีลักษณะพิเศษคือ ม้วนหุ้มยอด เรียวแหลม โค้งเล็กน้อยเป็นรูปดาบ ช่อดอกออกตามง่ามใบ และปลายกิ่ง สีขาวอมเขียวอ่อน กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ เกสรเพศผู้ 10 อัน ผลรูปกลมรีหรือค่อนข้างเป็นรูปไข่ แบนเล็กน้อย คล้ายผลมะม่วงขนาดเล็ก ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเหลือง มีเนื้อหุ้มเหมือนมะม่วง เมล็ดแข็ง เนื้อในเมล็ดสีขาว มีน้ำมัน


ประโยชน์ : กระบกจะผลัดใบหมดทั้งต้น และจะผลิใบใหม่ในเวลาอันรวดเร็ว เนื้อไม้แข็ง และหนัก เสี้ยนตรง ไม่แตกแยกเมื่อแห้ง ใช้ทำฟืน ถ่าน ซึ่งให้ความร้อนสูง ทำเครื่องมือกสิกรรม และสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในร่ม เนื้อในเมล็ดกินได้ น้ำมันที่ได้จากเนื้อในเมล็ดใช้ทำอาหาร สบู่ และเทียนไข


โทษ : -


ข้อมูลเพิ่มเติม