กระเบากลัก
Hydnocarpus ilicifolia King, FLACOURTIACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 15-20 ม. ลำต้นค่อนข้างเปลา กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง กิ่งแก่เกลี้ยง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานหรือรูปใบหอก กว้าง 3-7.5 ซม. ยาว 7.5-16 ซม. ปลายสอบเรียวหรือค่อนข้างเรียวแหลม โคนสอบหรือมน ขอบจักฟันเลื่อยห่างๆ ค่อนไปทางปลายใบ เส้นแขนงใบเยื้องกันข้างละ 7-10 เส้น เส้นใบย่อยเป็นร่างแห ทั้งเส้นแขนงใบและเส้นใบย่อยเห็นได้ชัดทั้ง 2 ด้าน ก้านใบยาว 0.6-1.5 ซม. ดอกแยกเพศ อยู่ต่างต้น ออกเป็นช่อกระจุกสั้นตามง่ามใบช่อละ 2-10 ดอก ก้านช่อดอกยาวประมาณ 1.5 ซม. มีขนสีน้ำตาลแดง กลีบเลี้ยง 4 กลีบ ค่อนข้างกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4 มม. กลีบดอก 4 กลีบ สีขาวหรือเหลืองอมเขียว รูปขอบขนาน ปลายตัด ยาวไล่เลี่ยกับกลีบเลี้ยง มีขนที่ปลายกลีบ ด้านนอกเกลี้ยง ที่โคนด้านในมีเกล็ดรูปเกือบสี่เหลี่ยม ดอกเพศผู้มีเกสรเพศผู้ 14-20 อัน ก้านชูอับเรณูสั้น มีขน ดอกเพศเมียมีเกสรเพศผู้ไม่สมบูรณ์ประมาณ 15 อัน รังไข่รูปไข่ มีขนสีน้ำตาลแดง ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 4 แฉก ผลกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 4-8 ซม. เปลือกแข็ง ผิวเรียบ มีขนนุ่มเหมือนกำมะหยี่สีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลดำ มี 10-15 เมล็ด เมล็ดอัดกันแน่น รูปไข่ กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 1.3-2.2 ซม.


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : ภูมิภาคอินโดจีน และแหลมมลายู


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ทั่วทุกภาค


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นในป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ตามเขาหินปูน และใกล้ชายทะเล บนพื้นที่ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนถึงสูงประมาณ 800 ม.


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.