กระเบากลัก


ชื่อพื้นเมือง : กระเบากลัก (สระบุรี), กระเบาลิง (ภาคกลาง), กระเบียน ขี้มอด (จันทบุรี), กระเบาซาวา (เขมร-จันทบุรี), กระเบาพนม (เขมร-สุรินทร์), กระเรียน (ชลบุรี), จ๊าเมี่ยง (สระบุรี, แพร่), คมขวาน (ประจวบคีรีขันธ์), ดูกช้าง (กระบี่), บักกราย พะโลลูตุ้ม (มลายู-ปัตตานี), หัวค่าง (ประจวบคีรีขันธ์, สุราษฎร์ธานี)


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hydnocarpus ilicifolia King


ชื่อวงศ์ : FLACOURTIACEAE


ชื่อสามัญ : -


ลักษณะ : ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 15-20 ม. ลำต้นค่อนข้างเปลา ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานหรือรูปใบหอก ปลายสอบเรียวหรือค่อนข้างเรียวแหลม โคนสอบหรือมน ขอบจักฟันเลื่อยห่างๆ ค่อนไปทางปลายใบ ดอกแยกเพศ อยู่ต่างต้น ออกเป็นช่อกระจุกสั้นตามง่ามใบช่อละ 2-10 ดอก กลีบเลี้ยง 4 กลีบ ค่อนข้างกลม กลีบดอก 4 กลีบ สีขาวหรือเหลืองอมเขียว รูปขอบขนาน ปลายตัด ยาวไล่เลี่ยกับกลีบเลี้ยง มีขนที่ปลายกลีบ ดอกเพศผู้มีเกสรเพศผู้ 14-20 อัน รังไข่รูปไข่ มีขนสีน้ำตาลแดง ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 4 แฉก ผลกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 4-8 ซม. เปลือกแข็ง ผิวเรียบ มีขนนุ่มเหมือนกำมะหยี่สีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลดำ มี 10-15 เมล็ด เมล็ดอัดกันแน่น รูปไข่


ประโยชน์ : -


โทษ : -


ข้อมูลเพิ่มเติม