กรวยป่า
Casearia grewiifolia Vent., FLACOURTIACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดเล็ก ผลัดใบ สูง 5-15 ม. ต้นที่มีอายุมากโคนต้นมีพอน เปลือกค่อนข้างเรียบ สีเทาหรือน้ำตาลอ่อน กิ่งอ่อนมีขน ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่ กว้าง 3-6 ซม. ยาว 8-13 ซม. ปลายแหลม โคนมนกว้าง มักเว้าเล็กน้อยที่รอยต่อก้านใบ ขอบจักถี่ มีต่อมเป็นขีดสั้นๆ กระจัดกระจายทั่วแผ่นใบ เมื่อส่องดูกับแสงสว่างจะโปร่งแสง แผ่นใบด้านบนเกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อยที่เส้นกลางใบ ด้านล่างมีขนนุ่มทั่วไป ก้านใบยาว 0.6-1.2 ซม. มีขน หูใบเล็ก รูปสามเหลี่ยม ร่วงง่าย ดอกมีจำนวนมาก ออกเป็นกระจุกเล็กๆ ตามง่ามใบที่ใบร่วงไปแล้ว ก้านดอกยาว 5-6 มม. ดอกสมบูรณ์เพศ สีขาวหรือเหลืองอมเขียว กลีบเลี้ยงเล็ก มีขน ไม่มีกลีบดอก เกสรเพศผู้ 8-10 อัน ก้านชูอับเรณูยาวไม่เท่ากัน ผลมีเนื้อ รูปไข่ กว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 2.5-5 ซม. ผิวเรียบ ผนังหนา สุกสีเหลือง เมล็ดเป็นเหลี่ยม มีจำนวนมาก เนื้อหุ้มเมล็ดสีแสด


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : ภูมิภาคอินโดจีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย จนถึงหมู่เกาะในภูมิภาคเมลานีเซีย (Melanesia)


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ทั่วทุกภาค


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ และป่าทุ่งทั่วไปจนถึงพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,200 ม.


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : กรวยป่ามีอีกพันธุ์หนึ่งคือ C. grewiifolia Vent. var. gelanioides (Blume) Sleum. ส่วนต่างๆ ไม่มีขน


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.