ไกรทอง




ชื่อพื้นเมือง : เข็ดมูล เจตมูล ไม้แก่นแดง (ปราจีนบุรี), ต๋านฮ้วนหด (เชียงใหม่), พิกุลทอง (ประจวบคีรีขันธ์), ต๋านฮ้วนเป็ด (เชียงใหม่), ไกรทอง (ปราจีนบุรี, นราธิวาส)


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Erythroxylum cuneatum Kurz


ชื่อวงศ์ : ERYTHROXYLACEAE


ชื่อสามัญ : -


ลักษณะ : ไม้ต้น สูง 4-15 ม. อาจสูงได้ถึง 30 ม. กิ่งมักตั้งฉากกับลำต้น ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่กลับ รูปรี หรือรูปขอบขนาน ปลายมนหรือหยักเว้าเล็กน้อย โคนสอบ ขอบเรียบ ดอกเล็ก ออกเดี่ยวๆ หรือเป็นกระจุกตามง่ามใบ กระจุกละ 2-8 ดอก สีขาวหรือขาวอมเขียว กลีบเลี้ยง 5 กลีบ โคนติดกันเป็นรูประฆัง กลีบดอก 5 กลีบ รูปขอบขนาน หรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่ เกสรเพศผู้ 10 อัน ผลเมล็ดแข็ง รูปรีแกมรูปขอบขนาน มี 3 พู ผลแก่สีแดงสดเป็นมัน มี 1 เมล็ด เมล็ดแบนโค้ง


ประโยชน์ : ไม้ใช้ทำเสาเข็ม ในฟิลิปปินส์ใช้พืชนี้เป็นยาเบื่อปลา


โทษ : -


ข้อมูลเพิ่มเติม