นมวัวดอย
Rhododendron surasianum Balf.f. et Craib, ERICACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 4-12 ม. ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับเป็นกลุ่มที่ปลายกิ่ง และเรียงห่างๆ บนกิ่ง รูปรี กว้าง 3-5 ซม. ยาว 7-12 ซม. ปลายแหลม โคนสอบหรือมน ขอบเรียบ มีขนยาวประปราย แผ่นใบด้านล่างมีเกล็ดหนาแน่น เส้นแขนงใบข้างละ 7-8 เส้น ช่อดอกสั้น ออกตามปลายกิ่งช่อละ 3-4 ดอก กลีบดอกสีขาว หรือขาวอมชมพู ติดกันคล้ายรูปกรวยแกมรูประฆัง ยาว 2.5-4.2 ซม. ปลายแยกเป็น 5 กลีบ แผ่นกลีบกว้าง 2-2.5 ซม. ยาว 2.5-3 ซม. มีประสีเหลืองแต้มเป็นทางจากปากหลอดลงไปจนถึงโคนกลีบดอก บริเวณโคนกลีบดอกทั้งด้านนอก และด้านในมีขนสั้นสีขาว เกสรเพศผู้ 10 อัน ยาวไม่เท่ากัน ตั้งแต่ 3-4 ซม. โคนก้านชูอับเรณูมีขนสั้น รังไข่มีเกล็ดสีน้ำตาลหนาแน่น ผลแก่แตกเป็น 5 เสี่ยง มีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดแบน เล็กมาก มีปีกบางใสล้อมรอบ


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : พรรณไม้ถิ่นเดียวของไทย


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : พบที่จังหวัดเชียงให่ และแม่ฮ่องสอนบางตอน


สภาพนิเวศน์ : บนภูเขาสูงจากระดับน้ำทะเล 1,400-1,600 ม. ขึ้นบนพื้นที่ลาดชันที่ชุ่มชื้นในป่าดิบเขา


เวลาออกดอก : ระหว่างเดือนมีนาคมถึงเมษายน


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.