กูดกวาง
Tectaria variolosa (Wall. ex Hook.) C. Chr., DRYOPTERIDACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เฟิร์น มีเหง้าใต้ดินทอดยาวไปตามพื้นดิน หรือบางครั้งพบว่าเหง้าเกือบตั้งตรง เส้นผ่านศูนย์กลางเหง้า 3-8 มม. มีเกล็ดรูปแถบ กว้าง 2-8 มม. ยาว 0.7-2 ซม. ขอบเกล็ดมีขนค่อนข้างแข็ง เกล็ดมี 2 สี บริเวณตรงกลางเป็นสีเกือบดำ ขอบเป็นสีสนิมเหล็กหรือสีน้ำตาลอมม่วง ใบประกอบแบบขนนกสองหรือสามชั้น รูปไข่แกมรูปคล้ายสามเหลี่ยมหรือรูปห้าเหลี่ยม ใบไม่สร้างอับสปอร์ก้านใบยาว 8-40 ซม. ใบสร้างอับสปอร์ก้านใบยาว 28-60 ซม. ผิวของก้านใบด้านบนมีขนหนาแน่น ผิวด้านล่างเกลี้ยง ใบย่อยมี 2-4 คู่ คู่ล่างสุดใหญ่ที่สุด ใบย่อยรูปคล้ายสามเหลี่ยม ปลายแหลม เส้นกลางใบย่อยแบ่งแผ่นใบด้านล่างมีขนาดใหญ่กว่าด้านบน และมักหยักเว้าลึกหรือเป็นใบย่อย โดยทั่วไปใบสร้างอับสปอร์จะมีการหยักเว้าของใบย่อยหรือเป็นใบประกอบที่ซับซ้อนมากกว่าใบไม่สร้างอับสปอร์ ผิวใบเรียบ เส้นใบเป็นร่างแห ซึ่งมีเส้นใบย่อยอยู่ภายในช่องว่าง ก้านใบสีน้ำตาลอ่อนหรือน้ำตาลปนม่วง กลุ่มอับสปอร์รูปกลม อยู่ที่ปลายของเส้นใบย่อยภายในช่องว่างของเส้นใบ มีเยื่อบางๆ ปกคลุม ซึ่งจะเห็นได้ชัดในระยะที่กลุ่มอับสปอร์ยังไม่เจริญเต็มที่


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : อินเดียตอนเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของจีน ไต้หวัน ภูมิภาคอินโดจีน และภูมิภาคมาเลเซีย


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ทั่วทุกภาค


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นในป่าเบญจพรรณ บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 900 ม.


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.