กะฉอดแรด
Tectaria rockii C. Chr., DRYOPTERIDACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เฟิร์น เหง้าสั้น มักเจริญในแนวโค้งจากพื้นดินก่อนเล็กน้อยแล้วจึงตั้งตรง มีเกล็ดทั่วไป เกล็ดสีน้ำตาลเข้มจนถึงเกือบดำ รูปแถบหรือรูปคล้ายสามเหลี่ยม แข็ง กว้างประมาณ 2 มม. ยาวประมาณ 1.5 ซม. ใบประกอบแบบขนนก ตอนล่างเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น แผ่นใบกว้างยาวประมาณ 50 ซม. รูปคล้ายสามเหลี่ยม ก้านใบยาวได้ถึง 80 ซม. สีน้ำตาลหรือน้ำตาลแดง มีร่องตามยาว โคนก้านใบมีเกล็ดและขนเล็กๆ ทั่วไป แกนกลางใบประกอบสีน้ำตาลเป็นมัน มีขนนุ่มสั้นๆ หนาแน่น ใบย่อยมี 3-5 คู่ ใบย่อยคู่ล่างใหญ่ที่สุด กว้างประมาณ 30 ซม. ยาวประมาณ 40 ซม. รูปคล้ายสามเหลี่ยมด้านไม่เท่า โคนใบย่อยเว้าลึก ใบย่อยที่ปลายสุดรูปคล้ายสามเหลี่ยม ปลายเรียวแหลม โคนสอบ ขอบเว้า แกนกลางใบประกอบและเส้นกลางใบย่อย (costae) มีขนทั้ง 2 ด้าน ใบย่อยชั้นที่ 2 มีก้านสั้นๆ หรือไม่มี ขอบหยักมนถึงเว้า กว้างประมาณ 6 ซม. ยาวประมาณ 20 ซม. แผ่นใบด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีจางกว่า เส้นใบเป็นร่างแห เห็นชัดทางด้านล่างซึ่งมีขน กลุ่มอับสปอร์รูปกลม สีน้ำตาลเข้ม กระจายทั่วไปทางด้านล่างของแผ่นใบ เยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์มีขนเล็กๆ ซึ่งอาจจะร่วงไปเมื่อใบแก่


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : พม่าและภูมิภาคอินโดจีน


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ทั่วทุกภาค เว้นภาคใต้


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นตามไหล่เขาบนพื้นที่สูง 150-1,200 ม. บริเวณที่ร่มในป่าดิบและป่าผลัดใบ


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.