กูดขาบ
Didymochlaena truncatula (Sw.) J. Smith, DRYOPTERIDACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เฟิร์น เหง้าตั้งตรง อาจสูงจากพื้นดินกว่า 10 ซม. มีเกล็ดสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลเข้มและขนสีน้ำตาลแดงหนาแน่น เกล็ดกว้างประมาณ 5 มม. ยาวประมาณ 2 มม. ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น รูปขอบขนาน กว้างประมาณ 40 ซม. ยาวประมาณ 1 ม. ใบอ่อนสีน้ำตาลแดง เมื่อแก่สีเขียว แกนกลางใบประกอบมีขนและเกล็ด ก้านใบสีน้ำตาลอ่อนถึงเข้ม ยาว 50-70 ซม. มีเกล็ดและขนแน่นทั่วไป ด้านบนเป็นร่องตามยาว กลุ่มใบย่อยตามแกนกลางใบประกอบมีประมาณ 20 คู่ รูปใบหอกแกมรูปแถบ กว้างประมาณ 4 ซม. ยาวประมาณ 25 ซม. ปลายเรียวแหลม โคนรูปกึ่งตัด ใบย่อยตามแกนกลุ่มใบย่อยที่มีร่องตรงกลางมีก้านใบย่อยสั้นหรือไม่มี รูปขอบขนาน กว้างประมาณ 8 มม. ยาวประมาณ 1.8 ซม. ปลายโค้งมนมีติ่ง โคนเฉียงมีหนามเล็กๆ ขอบเรียบหรือจักฟันเลื่อยห่างๆ แผ่นใบสีเขียวเข้ม ค่อนข้างหนา เส้นใบบาง แยกสาขาเป็นคู่ กลุ่มอับสปอร์รูปขอบขนาน อยู่บนเส้นใบใกล้ขอบใบ เยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์ยาวประมาณ 2 มม.


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : พบทั่วไปในเขตร้อน


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นตามไหล่เขาในป่าดิบชื้น บริเวณดินที่มีขุยอินทรีย์สูง บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 300-1,000 ม.


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.