กระบกกรัง
Hopea helferi (Dyer)
Brandis, DIPTEROCARPACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
: ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่
สูง 15-30 ม.
เรือนยอดรูปกรวยคว่ำหรือรูปทรงกระบอก
ลำต้นส่วนที่เปลาไม่สูงนักและมักบิด
โคนเป็นพอนค่อนข้างสูง
เปลือกสีน้ำตาลปนเทาอ่อน
แตกเป็นสะเก็ดอ้าทั่วไป
มักตกชันสีเหลืองอ่อน
เปลือกใต้สะเก็ดสีน้ำตาลแก่
เปลือกชั้นในสีชมพู
กระพี้สีเหลืองอ่อนหรือน้ำตาลอมเหลือง
แก่นสีน้ำตาลอมแดง
กิ่งอ่อนมีขนสากตามปลายกิ่ง
กิ่งแห้งสีชมพูคล้ำ ใบเดี่ยว
เรียงสลับ รูปขอบขนาน
กว้าง 4-7 ซม. ยาว 9-20 ซม.
แต่ขนาดไม่ค่อยแน่นอนนัก
ปลายมนหรือหยักคอดเป็นติ่งแหลมสั้นๆ
โคนเบี้ยวและหยักเว้า
แผ่นใบค่อนข้างบาง
ด้านบนเกลี้ยงเป็นมันและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอมเหลืองหรือน้ำตาลแดงเมื่อใบแห้ง
ด้านล่างเป็นคราบสีขาวหรือสีเงิน
และมักมีตุ่มหูดสีน้ำตาลซึ่งเกิดจากการกระทำของแมลงกระจายห่างๆ
เส้นแขนงใบข้างละ 12-15
เส้น
เส้นใบย่อยแบบขั้นบันได
เห็นได้ชัดทางด้านล่าง
ใบอ่อนสีน้ำตาลอมม่วง
ก้านใบมีขนยาวๆ ทั่วไป
หูใบเรียวแคบ ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง
ออกรวมกันเป็นช่อใหญ่ตามง่ามใบและตามปลายกิ่ง
ดอกเล็ก สีเหลืองอ่อน
กลิ่นหอม
เรียงเป็นแนวเดียวกันบนก้านแขนงช่อ
กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ
5 กลีบ
โคนกลีบเลี้ยงติดกันเป็นรูปถ้วย
กลีบดอกเรียงซ้อนเวียนกันคล้ายกังหัน
ก้านช่อดอก กลีบเลี้ยง
และด้านนอกของกลีบดอกมีขนนุ่มทั่วไป
รังไข่มี 3 ช่อง
แต่ละช่องมีออวุล 2 เม็ด ผลเล็ก
รูปไข่ มีปีกยาว 2 ปีก
ปีกสั้น 3 ปีก
โคนปีกหุ้มมิดผลตอนล่างแต่ไม่เชื่อมติดกับตัวผล
ปีกยาวรูปขอบขนาน
กว้างประมาณ 1 ซม.
ยาวประมาณ 5 ซม.
มีเส้นตามยาวของปีก 7
เส้น เมล็ดแข็ง
รูปไข่
ถิ่นกำเนิด : -
การกระจายพันธุ์ :
พม่า หมู่เกาะอันดามัน
ภูมิภาคอินโดจีน
และภูมิภาคมาเลเซีย
การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย
: ทั่วทุกภาค
สภาพนิเวศน์ :
ขึ้นตามป่าดิบที่สูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน
100 ม.
เวลาออกดอก : -
เวลาออกผล : -
การขยายพันธุ์ : -
ความเกี่ยวข้องกับประเพณี
วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ :
-
อ้างอิง : 1)
ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช
อักษร ก. กรุงเทพมหานคร:
เพื่อนพิมพ์.