เกรอะ
Dioscorea wallichii Hook.f., DIOSCOREACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถา มีเหง้าสีน้ำตาลหยั่งลึกลงไปในดินประมาณ 1 ม. มีรากฝอยจำนวนมาก ส่วนที่ต่อกับลำต้นลงมาเรียวสอบ เนื้อสีเหลืองอ่อนเป็นเสี้ยน เนื้อเหง้าสีขาว นุ่ม ลำต้นพันต้นไม้อื่นไปทางขวา เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นประมาณ 5 มม. ตอนโคนมีหนามห่างๆ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปหัวใจ กว้างยาวประมาณ 25 ซม. ปลายแหลม ขอบเรียบ แผ่นใบด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีนวล เส้นใบออกจากโคนใบ 9 เส้น เห็นชัดทางด้านบน ด้านล่างนูน เส้นใบย่อยมีจำนวนมาก เห็นไม่ชัด เรียงทแยงขนานกันห่างๆ ระหว่างเส้นใบ ก้านใบยาวเท่ากับแผ่นใบหรือยาวกว่าเล็กน้อย โคนก้านโป่ง สีม่วงแดง ดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อแยกแขนง รูปสามเหลี่ยมด้านเท่ากลายๆ ยาวประมาณ 10 ซม. ออกตามง่ามใบ มีแขนงแบบช่อเชิงลดหลายช่อ แต่ละช่อมี 20-30 ดอก แกนช่อดอกเป็นเหลี่ยม ใบประดับเล็กมาก สีแดงอมน้ำตาล รูปไข่ปลายแหลม ยาวประมาณ 1 มม. ใบประดับย่อยเล็กมาก รูปคล้ายใบประดับ กลีบเลี้ยง 3 กลีบ สีน้ำตาลอมแดง รูปไข่ปลายมน ยาวประมาณ 1 มม. ปลายกลีบโค้งเข้าหากัน ขอบกลีบสีจางกว่า กลีบดอก 3 กลีบ รูปไข่กลับ สั้นกว่ากลีบเลี้ยง เกสรเพศผู้ 6 อัน สั้นกว่ากลีบดอก ก้านชูอับเรณูสั้นกว่าอับเรณู เกสรเพศเมียไม่สมบูรณ์ รูปสามเหลี่ยม ปลายมี 3 แฉก ดอกเพศเมียเป็นช่อเชิงลด 1-2 ช่อ ตั้งตรง ปลายโค้งลง ออกตรงข้ามกับใบและยาวเท่ากับใบ แต่ละช่อมีประมาณ 20 ดอก ใบประดับรูปไข่กว้าง ปลายแหลม กลีบเลี้ยง 3 กลีบ รูปไข่กว้าง ปลายมน ยาวประมาณ 1 มม. กลีบดอกคล้ายกับกลีบเลี้ยงแต่เล็กกว่า เกสรเพศผู้ไม่สมบูรณ์ เล็กมาก ยอดเกสรเพศเมียมีแฉกสั้น 6 แฉก รูปเคียว ช่อผลยาวประมาณ 50 ซม. มีช่อละ 4-5 ผล ผลมีปีก 3 ปีก กว้าง 1.5-1.8 ซม. ยาวประมาณ 2 ซม. ปลายตัดหรือเว้า โคนค่อนข้างตัด ขอบมน มีนวลและมีประสีน้ำตาลเข้ม ก้านผลยาวประมาณ 4 มม. ตอนบนกว้างประมาณ 4 มม. ผลแก่แตกตรงกลางตามรอยประสาน เมล็ดสีน้ำตาลอมเทา มีปีกโดยรอบ


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : อินเดียและพม่า


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ภาคใต้


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ค่อนข้างหายาก


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.