กูดหมัก
Leucostegia immersa (Wall. ex Hook.) Presl, DAVALLIACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เฟิร์น เหง้าทอดไปตามดิน แตกแขนง มีขนนุ่มสีเหลืองทองค่อนข้างแน่น เกล็ดเป็นแผ่นบางสีน้ำตาลอ่อน รูปใบหอกแคบ กว้างประมาณ 1 มม. ยาวประมาณ 4 มม. ขอบเรียบ ใบประกอบแบบขนนกสามถึงสี่ชั้น เรียงตัวห่างๆ กัน รูปขอบขนาน กว้างประมาณ 25 ซม. ยาวประมาณ 40 ซม. ปลายเรียวแหลม ก้านใบยาว 15-30 ซม. ด้านล่างสีน้ำตาลอ่อนหรือน้ำตาล โคนมีเกล็ด ตอนบนมีขนประปราย กลุ่มใบย่อยมีมากกว่า 10 คู่ คู่ล่างสุดใหญ่ที่สุด และแฉกลึกแบบขนนกสองถึงสามชั้น รูปขอบขนานปลายแหลม กว้างยาวประมาณ 15 ซม. ปลายเรียวแหลม โคนสอบ และแฉกลึกแบบขนนกสองถึงสามชั้น แฉกล่างสุดรูปขอบขนานถึงรูปสามเหลี่ยม มีก้านใบ นอกนั้นรูปขอบขนาน ขอบหยัก 1-6 แฉก แฉกปลายสุดรูปกลมถึงรูปขอบขนาน หรือรูปช้อน ขอบหยักซี่ฟันหยาบๆ แผ่นใบสีเขียวอ่อน บาง เรียบ กลุ่มอับสปอร์อยู่ที่ปลายของเส้นใบที่แยกสาขาของแต่ละแฉกเพียงเส้นเดียว เยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์กลม ติดอยู่ที่ฐานของกลุ่มอับสปอร์ สีขาวถึงน้ำตาล กว้าง 1-2 มม. ขอบเรียบ


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : อินเดียตอนใต้และเทือกเขาหิมาลัย จีน ไต้หวัน พม่า ภูมิภาคอินโดจีน และภูมิภาคมาเลเซีย


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตกเฉียงใต้ และภาคใต้


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นตามไหล่เขา ตามซอกหินหรือบริเวณค่อนข้างร่มในป่าดิบเขา บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,100-1,800 ม.


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.