กูดโย่ง
Cyathea gigantea (Wall. ex Hook.) Holtt., CYATHEACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เฟิร์นต้น ลำต้นตั้ง สูงได้กว่า 2 ม. มีเกล็ดปกคลุม และมีรอยก้านใบที่หลุดร่วงไป รากเป็นเส้นแข็งสีดำ ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ออกเป็นกลุ่มบริเวณใกล้ยอด ก้านใบสีน้ำตาลอมม่วงหรือน้ำตาลดำ เป็นมัน ยาวประมาณ 50 ซม. มีร่องตามยาว โคนมีเกล็ดสีน้ำตาลดำ เกล็ดกว้างประมาณ 2 มม. ยาวประมาณ 1.7 ซม. แกนกลางใบประกอบมีสีเช่นเดียวกับก้านใบ มีร่องตามยาวและมีขน แผ่นใบกว้างประมาณ 65 ซม. ยาวประมาณ 1.2 ม. ใบย่อย 8-13 คู่ ใบย่อยชั้นที่ 2 มีก้านสั้น แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก กว้างประมาณ 1.7 ซม. ยาวประมาณ 9.5 ซม. ปลายเรียวแหลม โคนรูปหัวใจ ขอบหยักเว้าเข้าหาเส้นกลางใบย่อยประมาณ 1/3 จากขอบใบ หยักรูปเคียว ปลายมน ขอบจักฟันเลื่อย แผ่นใบบาง เส้นกลางใบย่อยมีเกล็ดประปราย เส้นใบแยกเป็นคู่ประมาณ 5 คู่ในแต่ละหยัก เห็นได้ชัดทั้ง 2 ด้าน กลุ่มอับสปอร์ไม่มีเยื่อคลุม เรียงตัวอยู่บนเส้นใบย่อยเป็นรูปคล้ายตัววีคว่ำ


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : เทือกเขาหิมาลัยตะวันออก จีนตอนใต้ อินเดียตอนใต้ ศรีลังกา พม่า ภูมิภาคอินโดจีน มาเลเซีย และอินโดนีเซีย


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ทั่วทุกภาค


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นใกล้ลำธาร ในป่าดิบแล้ง และตามไหล่เขาในป่าดิบชื้น บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 450-1,200 ม.


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.