กาหลงเขา
Bauhinia viridescens Desv. var. hirsuta K. et S.S. Larsen, LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 2-4 ม. ยอดและกิ่งอ่อนมีขนนุ่มหนาแน่น ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่หรือค่อนข้างกลม กว้าง 5-7 ซม. ยาว 4-7 ซม. ปลายหยักมนเว้าลงมาสู่เส้นกลางใบประมาณ 1/3 ของความยาวแผ่นใบ โคนรูปหัวใจ ขอบเรียบ แผ่นใบด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างมีขนหนาแน่น เส้นใบออกจากโคนใบ 7-11 เส้น ปลายเส้นกลางใบมีติ่งเล็กแหลม ก้านใบยาว 1.5-2 ซม. มีขน หูใบรูปสามเหลี่ยมเรียวยาว 2-3 มม. มีแท่งระยางค์เล็กๆ อยู่ระหว่างหูใบ ช่อดอกแบบช่อกระจะออกตรงข้ามใบที่อยู่ตอนปลายกิ่ง ยาว 4-15 ซม. มีขนหนาแน่น ก้านดอกยาว 1-3 มม. โคนก้านช่อและก้านดอกมีใบประดับรูปสามเหลี่ยมแหลมคล้ายหูใบ ดอกตูมคล้ายรูปรี ยาว 0.5-1 ซม. มีทั้งดอกเพศผู้ ดอกเพศเมีย และดอกสมบูรณ์เพศ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ติดกันคล้ายกาบ กลีบดอกสีขาวอมเขียวหรือเหลืองอมเขียว ขนาดไม่เท่ากัน รูปไข่กลับหรือรูปเรียว ยาว 0.7-1.2 ซม. เกสรเพศผู้ 9-10 อัน ก้านชูอับเรณูมักไม่เท่ากัน โคนก้านชูอับเรณูมีขน อับเรณูเล็ก รังไข่รูปขอบขนาน ก้านชูเกสรเพศเมียและก้านเกสรเพศเมียสั้น ยอดเกสรเพศเมียเป็นแผ่นกลมแบน ฝักแบน กว้าง 0.7-1 ซม. ยาว 5-9 ซม. มี 6-10 เมล็ด เมล็ดเล็ก รูปรี แบน


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : พรรณไม้ถิ่นเดียวของประเทศไทย


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : กาญจนบุรี


สภาพนิเวศน์ : แถบภูเขาหินปูนบนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 100-700 ม.


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.
2) Smitinand, T. and Larsen, K., eds. 1984. Flora of Thailand (Vol.4: 1). Bangkok: TISTR Press.