กะหล่ำปม
Brassica oleracea L. var. gongylodes L., BRASSICACEAE (CRUCIFERAE)


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกสองปี ลำต้นส่วนที่อยู่ติดระดับดินพองออกเป็นรูปทรงกลมหรือกลมแป้น เส้นผ่านศูนย์กลาง 5-10 ซม. มีทั้งชนิดลำต้นสีเขียวและม่วง ใบเดี่ยว รูปรีหรือรูปไข่แกมรูปรี ปลายแหลมถึงป้าน ขอบหยักซี่ฟันหยาบๆ โดยเฉพาะส่วนใกล้โคนใบมักเว้าลึกถึงเส้นกลางใบ ก้านใบเล็กและยาว แผ่นใบมีนวล


ถิ่นกำเนิด : ภาคเหนือของทวีปยุโรป


การกระจายพันธุ์ : -


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : -


สภาพนิเวศน์ : ชอบอากาศเย็นอุณหภูมิระหว่าง 15-22 องศาเซลเซียส


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด และย้ายกล้าปลูกในแปลง ระยะปลูก 20 x 20-25 ซม. พันธุ์เบามีอายุเก็บเกี่ยว 55-60 วัน พันธุ์หนัก 70-100 วัน


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : กะหล่ำเป็นพืชที่มนุษย์นำมาปลูกเพื่อบริโภคเป็นเวลานานกว่า 4,500 ปีมาแล้ว และได้ปรับปรุงคัดเลือกสายพันธุ์ให้เหมาะสมต่อการบริโภคในลักษณะต่างๆ กะหล่ำในปัจจุบันจึงมีลักษณะแตกต่างไปจากกะหล่ำป่า (Wild Cabbage) ซึ่งมีถิ่นเดิมอยู่ในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทางตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป สำหรับกะหล่ำปมได้นำมาปลูกในประเทศไทยเมื่อไม่นานมานี้ พันธุ์เบาเป็นพันธุ์ที่เหมาะสำหรับปลูกในประเทศไทย เนื่องจากมีอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโต


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.