กะหล่ำปลี
Brassica oleracea L. var. capitata L., BRASSICACEAE (CRUCIFERAE)


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกสองปี ลำต้นสั้นมาก ใบเดี่ยว รูปกลมหรือรูปไข่กว้าง เรียงสลับซ้อนกันแน่นหลายชั้นเป็นก้อนกลมแป้นหรือกลมรี แผ่นใบหนา ใบชั้นนอกสุดมีนวล กะหล่ำปลีที่ปลูกในประเทศไทยมีมากมายหลายพันธุ์ สามารถจัดกลุ่มได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
1. กะหล่ำปลีธรรมดา ชื่อสามัญ Common Cabbage, White Cabbage ใบสีเขียว มีนวล รูปร่างและขนาดของหัวแตกต่างกันไปตามพันธุ์ เป็นกลุ่มที่นิยมปลูกและกินกันมากที่สุด
2. กะหล่ำปลีแดง ชื่อสามัญ Red Cabbage ใบสีม่วงแดงเนื่องจากมีสาร anthocyanin มากเป็นพิเศษ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ แต่กินได้เช่นเดียวกับกะหล่ำปลีธรรมดา


ถิ่นกำเนิด : ทวีปยุโรปตอนใต้


การกระจายพันธุ์ : -


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : -


สภาพนิเวศน์ : -


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : กะหล่ำเป็นพืชที่มนุษย์นำมาปลูกเพื่อบริโภคเป็นเวลานานกว่า 4,500 ปีมาแล้ว และได้ปรับปรุงคัดเลือกสายพันธุ์ให้เหมาะสมต่อการบริโภคในลักษณะต่างๆ กะหล่ำในปัจจุบันจึงมีลักษณะแตกต่างไปจากกะหล่ำป่า (Wild Cabbage) ซึ่งมีถิ่นเดิมอยู่ในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทางตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป สำหรับกะหล่ำปลีได้มีผู้นำเข้ามาทดลองปลูกในประเทศไทยเมื่อก่อนปี พ.ศ. 2470 พบว่าปลูกได้ดีในภาคเหนือซึ่งมีอากาศเย็น ต่อมามีผู้นิยมกินมากขึ้น จึงได้มีการค้นคว้าพัฒนาพันธุ์กะหล่ำปลีทนร้อนขึ้น ปัจจุบันจึงปลูกกะหล่ำปลีได้ทุกฤดูกาล


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.