กะหล่ำดอก
Brassica oleracea L. var. botrytis L., BRASSICACEAE (CRUCIFERAE)


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกปีเดียวหรือสองปี ลำต้นกลม ตั้งตรง สูง 20-60 ซม. ใบเดี่ยว รูปไข่หรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ขอบหยักซี่ฟัน ช่อดอกออกเป็นกระจุกสีขาว อัดกันแน่นจนแยกจากกันเป็นดอกเดี่ยวๆ ไม่ได้ ก้านช่อดอก และก้านดอกพองขยายออกรองรับกระจุกดอก ขนาดและลักษณะของช่อดอกแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ แบ่งได้ 3 กลุ่ม ตามอายุการเก็บเกี่ยว คือ พันธุ์เบา มีอายุเก็บเกี่ยว 50-65 วัน พันธุ์ขนาดกลาง 65-75 วัน และพันธุ์หนัก 70-90 วัน


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : -


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : -


สภาพนิเวศน์ : เจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศเย็นที่อุณหภูมิระหว่าง 14-20 องศาเซลเซียส


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ดแล้วย้ายกล้าปลูก ระยะปลูกประมาณ 50 x 60-80 ซม. เนื่องจากประเทศไทยมีแสงแดดแรงเป็นเหตุให้ผิวช่อดอกกะหล่ำมีสีเหลืองไม่เป็นที่นิยมของตลาด เกษตรกรจึงนิยมการห่อช่อดอกโดยรวบปลายใบบนๆ มัดติดกันเมื่อเริ่มเห็นตุ่มตาดอกผลิออกมา


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : กะหล่ำเป็นพืชที่มนุษย์นำมาปลูกเพื่อบริโภคเป็นเวลานานกว่า 4,500 ปีมาแล้ว และได้ปรับปรุงคัดเลือกสายพันธุ์ให้เหมาะสมต่อการบริโภคในลักษณะต่างๆ กะหล่ำในปัจจุบันจึงมีลักษณะแตกต่างไปจากกะหล่ำป่า (Wild Cabbage) ซึ่งมีถิ่นเดิมอยู่ในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทางตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป ส่วนกะหล่ำดอกนำเข้ามาปลูกแพร่หลายในประเทศไทยช่วงหลัง พ.ศ. 2470


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.