กูดย่อย
Diplazium polypodioides Blume, ATHYRIACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เฟิร์น เหง้าใหญ่ ตั้งตรงคล้ายลำต้น มีเกล็ดแคบ สีน้ำตาล กว้างประมาณ 2 มม. ยาวประมาณ 3 ซม. ขอบหยักซี่ฟันสีดำ ใบประกอบแบบขนนกสองหรือสามชั้น กว้างประมาณ 70 ซม. ยาวได้มากกว่า 1 ม. ก้านใบยาวได้ถึง 1 ม. ตอนโคนพองเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5 ซม. มีเกล็ดหนาแน่น ผิวมีหนามเกิดจากเกล็ดร่วงไป ใบย่อยชั้นที่ 1 คู่ล่างกว้างประมาณ 20 ซม. ยาวประมาณ 50 ซม. ปลายแหลม ใบย่อยชั้นที่ 2 รูปขอบขนาน กว้างประมาณ 2 ซม. ยาวประมาณ 10 ซม. ก้านใบสั้นหรือไม่มี ขอบหยักลึกเกือบถึงเส้นกลางใบ แต่ละหยักรูปขอบขนานถึงรูปกึ่งสี่เหลี่ยมเฉียง ปลายมน ขอบจักฟันเลื่อย กว้างประมาณ 4 มม. ยาวประมาณ 1 ซม. แผ่นใบด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีเขียวอ่อน เส้นแขนงใบ 5-9 คู่ มักแยกเป็น 2 ง่าม ใบหยักขนาดใหญ่ อับสปอร์มักอยู่ตามเส้นใบใกล้เส้นกลางหยัก ยาวไม่เกิน 2 มม. เยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์บาง ติดอยู่กับกลุ่มอับสปอร์ตลอดไป


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : อินเดียตอนใต้ ศรีลังกา ภูมิภาคอินโดจีน ภูมิภาคมาเลเซีย และไต้หวัน


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นตามไหล่เขาบริเวณที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์และตามชายป่าที่มีความชื้นสูง บนพื้นที่ระดับต่ำถึงที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,300 ม.


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.