ผักกูดขาว




ชื่อพื้นเมือง : กูดคึ (ภาคเหนือ), กูดกิน ผักกูด (ภาคกลาง), กูดขาว ผักกูดขาว (ชลบุรี), กูดน้ำ (แม่ฮ่องสอน), หัสดำ (นครราชสีมา, สุราษฎร์ธานี), ไก้กวิลุ ปู่แปลเด๊าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diplazium esculentum (Retz.) Sw.


ชื่อวงศ์ : ATHYRIACEAE


ชื่อสามัญ : Paco


ลักษณะ : เฟิร์น เหง้าตั้งตรง อาจสูงได้มากกว่า 1 ม. มีเกล็ดสีน้ำตาลเข้ม ขอบเกล็ดหยักซี่ฟัน ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น แผ่นใบมีขนาดต่างๆ กัน มักยาวมากกว่า 1 ม. กลุ่มใบย่อยคู่ล่างๆ มักลดขนาด ใบย่อยปลายเรียวแหลม โคนรูปกึ่งหัวใจหรือรูปติ่งหู ขอบหยักเว้าลึกเป็นแฉก แผ่นใบบาง เส้นใบแยกสาขาแบบขนนกยื่นเข้าไปในแต่ละแฉก เส้นใบย่อยมีประมาณ 10 คู่ สานกับเส้นใบที่อยู่ในแฉกติดกันเป็นร่างแห ก้านใบย่อยสั้นหรือไม่มี กลุ่มอับสปอร์อยู่ตามความยาวของเส้นใบย่อย


ประโยชน์ : ใบอ่อนกินได้


โทษ : -


ข้อมูลเพิ่มเติม