กระปรอกหางแมว
Asplenium confusum Tard. et C. Chr., ASPLENIACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เฟิร์นอิงอาศัย เหง้าสั้น ตั้งตรง มีเกล็ดหนาแน่นทั่วไป เกล็ดสีน้ำตาล รูปใบหอก กว้างประมาณ 1 มม. ยาวประมาณ 2 มม. รากออกเป็นกระจุก มีรากขนอ่อนสีน้ำตาลทองทั่วไป ใบประกอบแบบขนนกสามชั้น กว้าง 10-20 ซม. ยาว 30-40 ซม. แกนกลางใบประกอบมีร่องตามยาว ก้านใบมีขนาดและสีต่างๆ กัน มักมีสีม่วงแดงหรือดำเป็นมัน ยาว 20-45 ซม. มีร่องตามยาว ใบย่อยชั้นที่ 1 มี 10-15 คู่ คู่ที่อยู่ตอนปลายแกนใบออกตรงข้ามกันหรือเกือบตรงข้าม คู่ที่อยู่ตอนโคนแกนใบเรียงสลับกัน ใบย่อยชั้นที่ 2 มีก้านใบสั้นๆ ใบย่อยชั้นที่ 3 กว้างประมาณ 5 มม. ยาวประมาณ 1 ซม. ปลายใบมน โคนสอบ ขอบหยักซี่ฟัน ไม่มีก้านใบ เส้นแขนงใบแยกสาขาเป็นคู่ เห็นชัดเจนทั้ง 2 ด้าน กลุ่มอับสปอร์เป็นเส้นยาวตามเส้นใบ ยาว 2-7 มม. แต่ละส่วนของขอบใบที่เว้ามีกลุ่มอับสปอร์ 2-3 กลุ่ม เยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์เป็นแผ่นบาง พบเยื่อนี้ตลอดอายุของใบ


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : ภูมิภาคอินโดจีน


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ทั่วทุกภาค


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นบนต้นไม้หรือก้อนหินที่ชื้นในป่าดิบทั้งป่าดิบแล้งและป่าดิบเขา บนพื้นที่ระดับต่ำถึงที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,600 ม.


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.