จมูกปลาหลด
Oxystelma secamone (L.) Karst., ASCLEPIADACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถาขนาดเล็ก ขึ้นพาดพันต้นไม้อื่นในที่ดินทรายและดินเหนียว ยอดอ่อนมีขนเล็กน้อยและค่อนข้างเกลี้ยงเมื่อแก่ มียางขาว ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามรูปยาวแคบปลายเรียวแหลม กว้าง 0.5-2 ซม. ยาว 5-10 ซม. ขอบเรียบ ก้านใบยาว 0.5-1.3 ซม. ดอกออกที่ง่ามใบเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อสั้น ช่อหนึ่งมี 2-3 ดอก บางครั้งช่อใหญ่มี 6-9 ดอก เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 1-2 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กว้างประมาณ 1 มม. ยาว 2-3 มม. ปลายแหลม กลีบดอกโคนติดกัน ปลายแยกเป็น 5 กลีบ กว้าง 4-6 มม. ยาว 3-5 มม. ริมขอบกลีบมีขน ด้านนอกสีขาวอมชมพู ด้านในสีเดียวกันแต่มีเส้นสีม่วงเข้มอยู่ตอนโคนกลีบที่ติดกัน เกสรเพศผู้มีอับเรณูติดกันเป็นคู่จำนวน 5 คู่ ฝังอยู่ ปลายเส้าเกสรรูปห้าเหลี่ยมหุ้มเกสรเพศเมีย รังไข่มี 2 ส่วน ปลายติดกัน ผลรูปไข่ ปลายโค้งเรียว เปลือกนิ่ม แก่แล้วแตกด้านเดียว มีเมล็ดมาก ปลายเมล็ดมีขนติดอยู่เป็นกระจุก ช่วยให้กระจายพันธุ์ไปได้ไกลๆ


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : เขตร้อนทั่วโลก


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ทั่วทุกภาค


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นตามที่ลุ่มน้ำขัง


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.