กระเพาะปลา
Finlaysonia obovata Wall., ASCLEPIADACEAE (PERIPLOCACEAE)


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถาเนื้อแข็ง มียางขาว ลำต้นเกลี้ยง ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม รูปไข่กลับ กว้าง 3.5-8 ซม. ยาว 7-15 ซม. ปลายมนและเป็นติ่งหนาม โคนสอบ ขอบเรียบ แผ่นใบอวบ ด้านบนสีเขียวเป็นมัน ด้านล่างสีอ่อนกว่า ก้านใบอวบหนามักมีสีแดง ยาว 1-2.5 ซม. ช่อดอกแบบช่อกระจุก ออกตามง่ามใบ แตกแขนงแบบสองหรือสามง่าม แขนงของช่อและก้านดอกอวบหนา สีม่วงแดง มีขน มีใบประดับขนาดเล็กรูปสามเหลี่ยมตามแขนงของช่อดอกและที่ก้านดอก ดอกเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-1.7 ซม. กลิ่นเหม็น กลีบเลี้ยงเล็ก มี 5 กลีบ มีขนยาว กลีบดอกสีม่วงอมชมพู ขอบขาว รูปกงล้อ โคนติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นกลีบรูปไข่ 5 กลีบ ด้านในมีขนยาวสีขาว กะบังรอบ (corona) สีขาว ตอนปลายเป็นเส้นยาว 5 เส้น ติดอยู่บนกลีบดอกตรงกับด้านหลังของก้านชูอับเรณู เกสรเพศผู้ 5 อัน ติดอยู่ในหลอดดอก แยกจากกันล้อมรอบยอดเกสรเพศเมีย ตอนปลายอับเรณูแผ่เป็นแผ่นแบน ปลายแหลมและโค้งงอ อับเรณูมี 2 ช่อง แต่ละช่องมีกลุ่มเรณู 2 กลุ่ม กลุ่มเรณูติดกับแกนยาวซึ่งมีอยู่ 5 อัน รูปร่างคล้ายช้อนติดอยู่รอบยอดเกสรเพศเมีย เกสรเพศเมียมี 2 อัน รังไข่แยกจากกัน แต่ก้านเกสรเพศเมียเชื่อมติดกันเป็นอันเดียว ยอดเกสรเพศเมียมีขนาดใหญ่ รูปห้าเหลี่ยม ยอดแบน ฝักใหญ่ ออกเป็นคู่ ด้านบนสีม่วงอมชมพู ด้านล่างสีเขียว รูปไข่ปลายแหลมและม้วนงอ กว้างประมาณ 3.5 ซม. ยาวประมาณ 5 ซม. ตามยาวฝักมีสันใหญ่คล้ายครีบ และมีสันเล็กๆ แทรกหลายสัน เมื่อแก่จะแตกด้านเดียว มีเมล็ดมาก เมล็ดรูปไข่ มีขนเป็นพู่ที่ปลาย


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : สิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : -


สภาพนิเวศน์ : ตามป่าเลนน้ำเค็ม


เวลาออกดอก : ออกดอกและเป็นผลระหว่างเดือนตุลาคมถึงมีนาคม


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.