เกล็ดนาคราช
Dischidia imbricata (Blume) Steud., ASCLEPIADACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เกาะเลื้อยอิงอาศัย มียางขาว ลำต้นเล็ก รากออกตามข้อเป็นกระจุก ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามรูปคล้ายกระทะคว่ำ ขอบแนบกับผิวพื้นที่ขึ้น กว้าง 1-3 ซม. ยาว 1.5-4 ซม. ปลายเว้าตื้นๆ โคนตัด มองไม่เห็นเส้นใบแต่มักมีแถบสีม่วงแกมเขียวจากโคนใบจนถึงประมาณกึ่งกลางใบ ใต้ใบสีม่วงขอบสีเขียวอ่อน ก้านใบยาวประมาณ 1 มม. อยู่ลึกเข้าไปทางด้านล่างประมาณ 1 มม. ทำให้โคนใบทั้งคู่เกยปิดลำต้น ในสภาวะแห้งแล้งเกยกันมากขึ้น ช่อดอกออกตามง่ามใบ ก้านช่อดอกยาวได้ถึง 4 ซม. ปลายก้านมักแยกเป็นแกนช่อดอก 2-4 แกน ดอกเล็ก ออกที่บริเวณปลายสุดของแกนครั้งละ 1-5 ดอก ดอกออกที่ปลายแกนช่อดอกเดิมได้หลายครั้ง เส้นผ่านศูนย์กลางดอกประมาณ 3 มม. ก้านดอกยาวประมาณ 3 มม. กลีบดอกสีนวลหรือเหลือง ติดกันเป็นรูปไข่ ปลายแยกเป็น 5 แฉก แฉกลึกประมาณ 1 มม. ด้านในของแฉกเป็นสันมีขนยาว สีขาว ชี้ลง เส้าเกสรประกอบด้วยรยางค์ 5 อัน สีนวลอมน้ำตาลอ่อน ติดกันเป็นรูปกรวยคว่ำ กลุ่มเรณูติดกันเป็นคู่ ก้านกลุ่มเรณูแบนและใส แผ่นยึดก้านสีน้ำตาลเข้ม รังไข่มี 2 อัน แยกจากกัน แต่ติดกันตรงปลาย ฝักรูปทรงกระบอก ยาว 2-3 ซม. ฝักแก่แตกแนวเดียว มีเมล็ดมาก เมล็ดเล็ก มีขนยาวเป็นพู่สีขาวที่ปลายด้านหนึ่ง


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : อินเดีย พม่า ภูมิภาคอินโดจีน และภูมิภาคมาเลเซีย


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ทั่วทุกภาค


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นตามป่าเต็งรัง ป่าสน ตลอดจนป่าเลน


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.