กะตังกะติ้ว




ชื่อพื้นเมือง : กะตังกะติ้ว (ภาคกลาง), คุยช้าง (ปราจีนบุรี), คุยหนัง (ระยอง), ตั่งตู้เครือ (ลำปาง), โพล้พอ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Willughbeia edulis Roxb.


ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE


ชื่อสามัญ : -


ลักษณะ : ไม้พุ่มกึ่งไม้เถาทอดเกาะเกี่ยวต้นไม้อื่น เปลือกลำต้นหรือเถาเรียบ เกลี้ยง สีน้ำตาลเข้ม ทุกส่วนมียางขาวข้นหรือเหลืองอ่อน ๆ ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปรีแกมรูปขอบขนาน แผ่นใบหนาเป็นมัน ช่อดอกสั้นออกตามง่ามใบและปลายกิ่ง ดอกสีขาวหรือชมพูเรื่อๆ ผลค่อนข้างกลม เปลือกนอกหนา แข็งเป็นมัน ภายในมีเยื่อนุ่มๆ ผลแก่จัดสีเหลือง


ประโยชน์ : เยื่อสีเหลืองในผลแก่กินได้ คนพื้นเมืองใช้ยางดักนก โดยเอายางนี้ไปทาไว้ตามแหล่งที่นกจะมาเกาะหรือทาไม้แล้วนำไปปักไว้ เมื่อนกมาเกาะหรือผ่านขนจะติดจนดิ้นไม่หลุด


โทษ : -


ข้อมูลเพิ่มเติม