เครือซูด
Parameria laevigata (Juss.) Moldenke, APOCYNACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถา ลำต้นเลื้อยพันไม้อื่น มีน้ำยางขาว กิ่งอ่อนเรียวเล็ก สีน้ำตาลเข้ม ยอดอ่อนและก้านช่อดอกมีขนสั้นๆ สีน้ำตาลแต่จะร่วงไปในเวลาต่อมา ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามหรือเป็นวงรอบ 3 ใบ รูปรี รูปขอบขนาน จนถึงรูปใบหอก กว้าง 2.5-5 ซม. ยาว 4.5-15 ซม. ส่วนกว้างที่สุดของใบอยู่ประมาณกึ่งกลางใบ แล้วเรียวสอบเข้าหาโคนใบและปลายใบ ปลายเรียวแหลม โคนสอบ แผ่นใบด้านบนสีเข้มกว่าด้านล่าง เส้นแขนงใบข้างละ 5-7 เส้น ก้านใบสั้น ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามง่ามใบและปลายกิ่ง ยาว 3-10 ซม. ดอกเล็กสีขาว กลิ่นหอมแรง ก้านดอกยาว 2-4 มม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เล็กมาก โคนกลีบติดกันเล็กน้อย กลีบดอก 5 กลีบ ยาวประมาณ 5 มม. ขอบกลีบซ้อนเหลื่อมกันเป็นเกลียว โคนกลีบติดกันเป็นรูปกรวย เกสรเพศผู้มี 5 อัน รังไข่มีขน ฝักยาว กว้าง 0.5-1 ซม. ยาว 15-35 ซม. หยักคอดระหว่างเมล็ด เมื่อแก่แตกออกจากกันด้านเดียว เมล็ดรูปคล้ายเรือ ยาว 1-1.2 ซม. โคนมีปุยขนยาวคล้ายเส้นไหม ช่วยในการลอยลม


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : อินเดีย พม่า กัมพูชา ลาว เวียดนาม ภูมิภาคมาเลเซีย


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : เชียงใหม่, เชียงราย, ลำพูน, น่าน, ลำปาง, ตาก, สุโขทัย, พิษณุโลก, นครสวรรค์, เพชรบูรณ์, เลย, ขอนแก่น, นครราชสีมา, บุรีรัมย์, ศรีสะเกษ, อุทัยธานี, กาญจนบุรี, ประจวบคีรีขันธ์, สระบุรี, นครนายก, กรุงเทพมหานคร, ปราจีนบุรี, ชลบุรี, จันทบุรี, ตราด, ระนอง, สุราษฎร์ธานี, พังงา, ตรัง, สตูล, ยะลา


สภาพนิเวศน์ : ป่าเบญจพรรณ


เวลาออกดอก : เดือนสิงหาคมถึงเมษายน


เวลาออกผล : ผลแก่ระหว่างเดือนมกราคมถึงเมษายน


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.
2) Santisuk, T. and Larsen, K., eds. 1999. Flora of Thailand (Vol.7: 1). Bangkok. Diamond Printing.