กล้วยค่าง
Orophea enterocarpa Maing. ex Hook.f. et Th., ANNONACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 4 ม. เปลือกเรียบ สีน้ำตาลคล้ำหรือเกือบดำ กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนประปราย ใบเดี่ยว เรียงสลับระนาบเดียว รูปขอบขนาน รูปขอบขนานแกมรูปใบหอก หรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ กว้าง 3.5-4.5 ซม. ยาว 10-15 ซม. ปลายเรียวแหลม โคนมนหรือสอบ แผ่นใบบาง เส้นแขนงใบข้างละ 6-10 เส้น ก้านใบสั้น ช่อดอกแบบช่อกระจุก มี 2-3 ดอก แต่เหลือดอกบานติดช่ออยู่เพียงดอกเดียว ออกเหนือง่ามใบเล็กน้อย ก้านช่อดอกเรียวเล็ก ยาว 2-3 ซม. มีขนสั้นประปราย ใบประดับเรียว ยาว 3-5 มม. ก้านดอกเรียวเล็ก ยาว 1.5-2 ซม. กลีบเลี้ยง 3 กลีบ รูปไข่ปลายเรียว ยาว 4-5 มม. กลีบดอกเรียงสลับกัน 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ กลีบดอกชั้นนอกสีขาวนวลอมเหลือง รูปไข่ กว้างประมาณ 1 ซม. ยาว 1.3-1.5 ซม. ปลายแหลม มีขนประปรายด้านนอก กลีบชั้นในยาวประมาณ 2 ซม. ปลายกลีบแผ่กว้างคล้ายช้อน จรดกันเป็นรูปโคม ด้านในสีแดงคล้ำหรือแดงอมม่วง เกสรเพศผู้ 12 อัน แต่ไม่สมบูรณ์ 6 อัน ล้อมรอบเกสรเพศเมีย เกสรเพศเมีย 6 อัน อยู่แยกกัน ผลเป็นผลกลุ่ม แต่ละผลรูปทรงกระบอก ยาว 5-10 ซม. เส้นผ่านศูนย์กลาง 7-8 มม. คอดกิ่วระหว่างเมล็ด ผลสุกสีแดง


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : มาเลเซีย


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ภาคใต้และภาคตะวันออก


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นในป่าดิบชื้น


เวลาออกดอก : เกือบตลอดปี


เวลาออกผล : เกือบตลอดปี


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.