สำโรง
 

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sterculia foetida   L.
วงศ์ :  STERCULIACEAE
ชื่อสามัญ :  Bastard poom, Pinari
ชื่ออื่น จำมะโฮง มะโรง มะโหรง โหมรง โหมโลง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูงได้ถึง 30 เมตร ผลัดใบ หรือนยอดรูปไข่ถึงทรงกระบอก ลำต้นเปลาตรง โคนมีพูพอนต่ำๆ เปลือกเรียบสีน้ำตาลปนเทา ใบ เป็นใบประกอบรูปนิ้วมือ กางแผ่ออกจากจุดเดียวกัน เรียงเวียนตอนปลายกิ่ง ใบย่อย 5-7 ใบ รูปรีหรือรูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 3.5-6 ซม. ยาว 10-30 ซม. ปลายใบแหลมหรือมีติ่งแหลม โคนใบรูปลิ่ม แผ่นใบหนา ใบเกลี้ยง เส้นแขนงใบข้างละ 17-21 เส้น ก้านใบประกอบ ยาว 13-20 ซม. ก้านใบย่อยยาว 3-5 มม. ดอก สีแดงหรือสีแสด มีกลิ่นเหม็นมาก ออกรวมเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงที่ปลายกิ่งหรือซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 10-30 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ปลายม้วนออก มีกลีบดอก ดอกบานเต็มที่กว้าง 2-2.5 ซม. ผล ผลแห้งแตกรูปไต  เปลือกผลแข็งเหมือนไม้ สีแดงปนน้ำตาล ผิวมันและเกลี้ยง เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก กว้าง 6-9 ซม. ยาว 8-10 ซม. เมล็ดสีดำมันรูปขอบขนาน กว้าง 1.3 ซม. ยาว 2.5 ซม.
          ระยะการออกดอก ประมาณเดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม ออกผลประมาณ มกราคม-เมษายน  ในประเทศไทยสำโรงมีการกระจายพันธุ์อยู่ตามป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้ง สูงจกระดับน้ำทะเล 10-600 เมตร
ประโยชน์
:  ฝักสมานแผลในกระเพาะ เมล็ดเป็นยาระบาย รักษาบาดแผล เปลือกละลายเสมหะ ไม้ใช้ทำเครื่องเรือน  ไม้อัด เปลือกใช้ทำเชือก น้ำมันจากเนื้อในเมล็ดใช้ปรุงอาหารและจุดไฟ