แก้ว
 

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Murraya paniculata
วงศ์ :  RUTACEAE
ชื่อสามัญ : Andaman satin wood, Chinese box tree, Orange jasmine
ชื่ออื่น กะมูนิง (มลายู-ปัตตานี) แก้วขาว (ภาคกลาง) แก้วขี้ไก่ (ยะลา) แก้วพริก ตะไหลแก้ว (ภาคเหนือ) แก้วลาย (สระบุรี) จ๊าพริก (ลำปาง)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  ไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 10 เมตร ไม่ผลัดใบ ใบ เป็นใบประกอบ ผิวใบมันเข้ม และเป็นมันทั้งสองด้าน ดอก ช่อ ออกเป็นกระจุก สีขาว ร่วงง่าย มีกลิ่นหอมมาก ผล สดกลมรี หรือรูปไข่ ปลายสอบเล็กน้อย ที่เปลือกมีต่อมน้ำมันเห็นได้ชัด กว้าง 5-8 มม. ยาว 0.8-1 ซม. ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีส้มแดง เมล็ดรูปไข่ปลายสอบ มีขนสั้นๆ อยู่รอบเมล็ด กว้าง 4-6 มม. ยาว 6-9 มม. สีขาวขุ่น มีจำนวน 1-2 เมล็ดต่อผล   
ประโยชน์
:  ใบสดที่โตเต็มที่ รสปร่า หอม ใช้สำหรับบรรเทาอาการปวดฟัน เนื่องจากมีน้ำมันหอมระเหยที่ออกฤทธิ์เป็นยาชา วิธีใช้คือ นำใบสด 15 ใบย่อย หรือน้ำหนัก 1 กรัม ตำพอแหลกแช่ในเหล้าโรง 4 ช้อนชา หรือ 16 มิลลิลิตร ทิ้งไว้ 3-5 นาที ใช้น้ำยาทาบริเวณที่ฟันปวด