สวนพฤกษศาสตร์คลองไผ่
             Klong Phai Botanical Garden   
 

Moraceae










หม่อน

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Morus alba L.
วงศ์ :  Moraceae
ชื่อสามัญ :  Mulberry Tree, White Mulberry

ชื่ออื่น :  หม่อน (ทั่วไป)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ต้น ไม้พุ่ม สูง 2-5 เมตร แตกกิ่งก้านมาก ต้นแก่ สีน้ำตาล กิ่งอ่อนสีเขียวอมเหลือง ใบ ใบเดี่ยว เรยงสลับ ขอบใบหยักและเป้นริ้วเล็กน้อย ปลายใบแหลม ใบกว้าง 8-14 เซนติเมตร ยาว 12-16 เซนติเมตร ผิวใบเกลี้ยงแต่สาก ดอก ดอกช่อ สีครีมอมเขียว ช่อดอกรูปทรงกระบอก ออกบริเวณซอกใบ ดอกย่อยมีขนาดเล็กมีกลีบดอก 4 กลีบ ดอกแยกเพศแต่อยู่บนต้นเดียวกัน ผล ผลรวม รูปทรางกระบอกป้อม ๆ ขนาดกว้าง 0.5-1 เซนติเมตร ยาว 2-3 เซนติเมตร ผลนิ่มอวบน้ำเมื่อสุกสีแดงอมม่วง
ประโยชน์ :  การศึกษาในสัตว์ทดลองหรือในหลอดทดลอง พบว่า สารสกัดหรือสารสำคัญของหม่อนมีฤทธิ์ทางยาหลายประการ ดังนี้
1. ฤทธิ์ต้านอนุมูลอินสระ น้ำคั้นและสารสกัดจากใบมีสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด และมีสารสำคัญที่ยับยั้ง oxidation ของ LDL ได้
2. ฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเมลานิน (melanin) สาร 2-oxyresveratrol จากกิ่งหม่อน และสาร mulberroside F จากใบและสารสกัดจากเปลือกราก มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ tyrosinase ซึ่งเกี่ยวข้องในขบวนการสร้างเม็ดสีที่ผิวหนัง จึงมีการนำสารสกัดรากหม่อนมาใช้เป็น whitening agent ในเครื่องสำอาง
3. ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด สารสกัดด้วยน้ำและสาร 2-O- ? -D-galactopyranosyl-1-deoxynojirimycin (GAL-DNJ) จากใบหม่อน มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในสัตว์ทดลองที่เป็นเบาหวาน และสาร 1-deoxynojirimycin ,ฤทธิ์แรงในการยับยั้งเอนไซม์ ?-glucosidase ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จึงช่วยยับยั้งการย่อยแป้งในอาหารช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ทำให้ใบหม่อนมีศักยภาพในการนำมาใช้ในผู้ป่วยเบาหวาน หรือใช้ควบคุมน้ำหนัก
4. ฤทธิ์ลดความดันโลหิต สารสกัดเอธานอลจากใบและบิวทานอลจากเปลือกราก มีสารฟลาโวนอยด์ที่มีฤทธิ์ลดความดันโลหิต
ในหนู
5. ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาอื่น ๆ เมื่อศึกษาในหลอดทดลองสารสกัดและสารสำคัญจากเปลือกรากหม่อนมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ของเชื้อเอชไอวี ฤทธิ์ต้านเชื้อรา และต้านเชื้อไวรัสที่ก่อโรคเริมที่อวัยวะเพศ ส่วนการศึกษาในสัตว์ทดลอง พบฤทธิ์แก้ไอ ขับปัสสาวะ ลดอาการบวม และฤทธิ์สงบประสาท

ที่มาของข้อมูล : สถาบันแพทย์แผนไทย