สวนพฤกษศาสตร์คลองไผ่
             Klong Phai Botanical Garden   
 

Guttiferae








มะพูด

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Garcinia dulcis (Roxb.) Kurz
วงศ์ :  Guttiferae
ชื่อสามัญ

ชื่ออื่น :  มะพูด (ปัตตานี)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  มะพูดเป็นไม้ต้น สูงถึง 9 ม. ลำต้นเมื่อมีบาดแผลมียางสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปขอบขนาน หรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 9–12 ซม. ยาว 17–25 ซม. เรียวไปที่ปลายใบ โคนใบตัดตรง และเว้าเล็กน้อยคล้ายรูปหัวใจ เนื้อใบหนาคล้ายแผ่นหนัง เมื่อแห้งสีเหลืองอมเทา ผิวใบด้านล่างมีขนละเอียด บางครั้งเกลี้ยง ก้านใบสั้น ดอก สีเขียวอมเหลือง แยกเพศในต้นเดียวกัน ออกเป็นกระจุกตามง่ามใบ ผล กลม หรือรูปไข่ ยาวถึง 6.5 ซม. สุกสีเหลืองสด
    มะพูดมีเขตการกระจายพันธุ์ในป่าดิบชื้นและตามชายห้วยในป่าเบญจพรรณ ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ ในต่างประเทศพบที่ฟิลิปปินส์ บอร์เนียว ชวา

ประโยชน์ : ผลสุกรสหวานอมเปรี้ยวกินได้ ประโยชน์ทางยา ส่วนที่ใช้เป็นยา น้ำคั้นจากลูก ราก เปลือก รสและสรรพคุณในตำรายาไทย น้ำคั้นจากลูก รสเปรี้ยวอมหวาน แก้ไอ ขับเสมหะ แก้เจ็บคอ แก้เลือดออกตามไรฟัน ราก รสจืด แก้ไข้ แก้ร้อนใน ถอนพิษผิดสำแดง เปลือก มีรสฝาด ใช้ชำระบาดแผล