ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dalbergia oliveri   Gamble & Prain

 

วงศ์ : Leguminosae

 

ชื่อสามัญ : Rosewood

 

ชื่ออื่น : ประดู่ชิงชัน  ดูสะแดน

 

ลักษณะ : ไม้ต้น ผลัดใบ สูง 15 – 25 เมตร เปลือกสีน้ำตาลอมเทา ล่อนเป็นแว่น ๆ ใบ ประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อย 11 –17 ใบ เรียงสลับบนแกนกลาง แผ่นใบย่อยรูปรีแกมรูปไข่ปลายคี่ กว้าง  1 – 4 เซนติเมตร ยาว  4 – 8 เซนติเมตร โคนและปลายมน ผิวใบด้านล่างสีจางกว่าด้านบน ดอกเล็ก สีขาวแกมม่วง ผล เป็นฝักแบน ๆ รูปหอกหัวท้ายแหลม กว้าง 3 – 3.5 เซนติเมตร ยาว  8 – 17 เซนติเมตร เมล็ด มี 3 เมล็ด ในแต่ละฝัก

 

นิเวศวิทยา : ขึ้นอยู่ตามป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณทั่วไป เว้นภาคใต้ สูงจากระดับน้ำทะเล 100 – 500 เมตร

 
ออกดอก : มีนาคม – พฤษภาคม ฝักแก่ พฤษภาคม – กันยายน  

การขยายพันธุ์ : โดยเมล็ด

 

ประโยชน์ : เนื้อไม้ แข็ง เหนียว มีความทนทานมาก ใช้ทำเครื่องเรือน ส่วนประกอบเกวียน พานท้ายปืน เครื่องดนตรี เช่น ขลุ่ย ซอ จะเข้ ลูกระนาด กลอง โทน  รำมะนา กรับ ขาฆ้องวง