หญ้าแพรก
Cynodon dactylon Pers.
 


ชื่อพื้นเมือง
ชื่อบาลี
ชื่อวิทยาศาสตร์
ชื่อสามัญ

ชื่อวงศ์ 
ถิ่นกำเนิด
สภาพนิเวศน์
การขยายพันธุ์
ประโยชน์

 

หญ้าแผด (ภาคเหนือ), หนอเก่เด (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
สทฺทล (สัด-ทะ-ละ), สทฺทโล (สัด-ทะ-โล), หริต (หะ-ริ-ตะ)
Cynodon dactylon  Pers.
Bermuda grass, Bahama grass, Dub grass,Florida grass,Scutch grass,Lawn grass,Dog's tooth grass
Gramineae
(Poaceae)
เอเชีย  ยุโรป
ขึ้นตามที่รกร้าง และที่โล่งทั่วๆ ไป
เพาะเมล็ด
ยาต้มของต้นหญ้าแพรกใช้แก้ท้องเดินเรื้อรัง ยาต้มของรากใช้ขับปัสสาวะ ทั้งต้นสดใช้ในพิธีไหว้ครู ร่วมกับดอกเข็มและดอกมะเขือ
 

 


          หญ้าแพรก  ในพุทธประวัติกล่าวว่าพระสิทธัตถะได้ทรงพระสุบิน  ก่อนที่จะสำเร็จพระสัมมาสัมโพธิญาณคำรบสองว่า ต้นหญ้าแพรกต้นหนึ่ง ได้ขึ้นแต่พื้นพระนาภี และเจริญสูงขึ้นไปจนจดคัดนาดลนภากาศ ซึ่งทำนายว่าการที่หญ้าแพรกงอกจากพระนาภี สูงไปจดอากาศนั้น เป็นบรรพนิมิตที่ได้ตรัสเทศนาพระอริยมรรคมีองค์ 8 (อัฏฐังคิกมรรค) แก่เทพยดาและมนุษย์ทั้งปวง
          หญ้าแพรก เป็นหญ้าชนิดหนึ่งในสกุล " Cynodon  " และอยู่ในวงศ์เดียวกับอ้อย ไผ่ คือวงศ์ "Gramineae " หรือ "Poaceae"
          ลักษณะ เป็นต้นหญ้าขนาดเล็ก ชอบเลื้อยแผ่ไปตามดิน แตกแขนงออก และมีรากงอก ใบ เดี่ยว ขนาดเล็กออกสลับ ดอก ช่อ ขนาดเล็กสีเขียวหรือสีม่วง ก้านช่อดอกออกตรงข้อ